วิเคราะห์ภาวะผู้นำของ “คุณโชค บูลกุล”

Posted: กันยายน 1, 2010 in การจัดการทั่วไป

1. บทนำ
1.1 ประวัติ
ชื่อ : นายโชค บูลกุล
ตำแหน่ง : กรรมการผู้จัดการ กลุ่มบริษัทฟาร์มโชคชัย
เกิด : วันที่ 24 สิงหาคม 2510 (กรุงเทพมหานคร)
ครอบครัว : บิดา คือ โชคชัย บูลกุล เจ้าของตำนานคาวบอยเมืองไทย มารดา คือ สุจริต บูลกุล คุณโชคเป็นลูกชายคนโตมีน้องสาวคือ อร วัฒนวรางกูล และน้องชาย คือ ชัย บูลกุล เขาสมรสกับ สู่ขวัญ วิวรกิจ เมื่อต้นปี 2547 และมีลูกชาย 1 คน
การศึกษา : มัธยมศึกษาปีที่ 1-5 จากโรงเรียน St. Joseph’s College, Sydney, Australia
ประถมศึกษาปีที่ 1-6 จากโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปริญญาตรี 3 สาขาวิชา จาก UNIVERSITY OF VERMONT ประเทศสหรัฐอเมริกา
1. สาขาวิชาสัตวศาสตร์
2. สาขาวิชาเทคโนโลยี และการจัดการฝูงโคนม
3. สาขาวิชาเทคโนโลยี และการบริหารธุรกิจการเกษตรอุตสาหกรรม

1.2 ประวัติการทำงาน
2545 – ปัจจุบัน กรรมการผู้จัดการ กลุ่มบริษัทฟาร์มโชคชัย (Chokechai Ranch Group)
2539 – 2544 กรรมการผู้อำนวยการ
2537 – 2539 รองกรรมการผู้อำนวยการ
2535 ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานธุรกิจการเกษตร ฟาร์มโชคชัย

ประวัติความเป็นมา
กลุ่มธุรกิจฟาร์มโชคชัย
2500 ด้วยอุดมการณ์และความใฝ่ฝันของนักสัตวบาล ตำนานคาวบอยไทย คุณโชคชัย บูลกุล ที่มุ่งมั่นแผ้วถางและปรับเปลี่ยนพื้นที่ซึ่งเป็นป่ารกทึบ บริเวณอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา โดยเริ่มต้นจากการทำการเกษตรแบบผสมผสาน บนพื้นที่เพียง 250 ไร่
2508 ประกอบธุรกิจจัดหาเครื่องจักรกล และอุปกรณ์ก่อสร้างให้แก่กองทัพอากาศอเมริกัน เพื่อใช้ในการสร้างฐานทัพการบิน และก่อตั้งบริษัทรับเหมาก่อสร้างในนาม บริษัทโชคชัยอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด และบริษัทโชคชัยเอ็นยิเนียริ่ง จำกัด ก่อสร้าง “ตึกโชคชัย” บนถนนสุขุมวิท อาคารสูง 26 ชั้น ซึ่งครองความเป็นอาคาร ที่สูงที่สุดในประเทศไทยมานานถึง 13 ปี
2512 บุกเบิกกิจการฟาร์มโคเนื้อ โดยนำเข้าโคเนื้อสายพันธุ์อเมริกันบราห์มัน และสายพันธุ์แซนต้าเกอร์ทูดิส พร้อมๆไปกับการยกระดับสายเลือด และพัฒนาสายพันธุ์โคพื้นเมืองของไทย
2514 ก่อตั้งภัตตาคาร ‘โชคชัยสเต็ดเฮ้าส์’ สาขาแรกขึ้น บนชั้น 23 ของอาคารโชคชัย เพื่อรองรับผลิตภัณฑ์เนื้อโคคุณภาพดีของฟาร์ม และให้บริการแก่ผู้เช่า อาคารสำนักงาน
2519 ฟาร์มประสบปัญหาโควตาการส่งออกโคเนื้อ รวมทั้งปัญหาต้นทุนการผลิตและต้นทุนการขนส่ง จึงเริ่มผันตัวเองจากธุรกิจอุตสาหกรรมโคเนื้อ เข้าสู่วงจรของธุรกิจโคนม
2521 ฟาร์มโคนมถูกบุกเบิกขึ้นอย่างเป็นรูปร่าง จากการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างแม่พันธุ์โคเนื้อของฟาร์ม กับน้ำเชื้อพ่อพันธุ์โคนมจากต่างประเทศ พัฒนา และปรับปรุงสายพันธุ์อย่างต่อเนื่องจนได้โคนมลูกผสมที่ให้ผลผลิตสูงสุดในเขตสภาพอากาศร้อนชื้น
2528 โรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์นม และแบรนด์นมสดตราฟาร์มโชคชัยเกิดขึ้นเพื่อรองรับผลผลิตน้ำนมดิบของฟาร์ม
2535-2539
ช่วงเวลาของการปฏิรูประบบจัดการ (Reengineering) เป็นช่วงที่ธุรกิจโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์นมประสบกับวิกฤตทางการตลาด จึงมีความจำเป็นต้อง ตัดขายธุรกิจนมพร้อมดื่มตราฟาร์มโชคชัยออกไปในปี พ.ศ.2537 แต่ยังดำรงไว้ซึ่งธุรกิจหลัก นั่นก็คือธุรกิจฟาร์มโคนม และในช่วงนี้เป็นช่วงเริ่มต้นการทำงาน ของคุณโชค บูลกุล ภายหลังจากจบการศึกษาจากประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นยุคของการหันกลับมาปฏิรูปองค์กรให้เกิดความมั่นคงยิ่งขึ้น โดยสร้างนวัตกรรม ทางการบริหาร และปรับรื้อระบบจัดการใหม่ให้กับธุรกิจ รายได้หลักในช่วงนี้มาจากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ซึ่งได้แก่น้ำนมดิบ และการส่งออก แม่พันธุ์โคนมไปยังต่างประเทศ รวมถึงอาหารสัตว์ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูป
2540-2544
เป็นช่วงเวลาของการปฏิรูปภาพลักษณ์องค์กร (Rebranding) เมื่อรากฐานของฟาร์มเข้มแข็งขึ้น ประกอบกับการมีความรู้ ประสบการณ์ และการเข้าใจจุดอ่อน จุดแข็งที่เรามี ผนวกกับการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาต่อยอดธุรกิจ จึงก่อให้เกิดนวัตกรรมทางธุรกิจขึ้น นั่นคือ การท่องเที่ยวเชิงเกษตรแบบครบวงจร
นับเป็นช่วงของการเปิดมิติใหม่ของการท่องเที่ยวโดยการสร้างการรับรู้ให้แก่สาธารณชนผ่านสื่อที่มาถ่ายทำและสัมภาษณ์กรรมการผู้จัดการกลุ่มบริษัท ช่วงนี้จึงถือเป็นยุคของการปฏิรูปภาพลักษณ์องค์กรครั้งยิ่งใหญ่ของกลุ่มบริษัทฟาร์มโชคชัย
2545-2549
ช่วงเวลาของการปฏิรูปองค์กร (Repositioning) เมื่อธุรกิจเดินทางมาถึงจุดที่หลายคนให้การยอมรับ และมองว่าเราประสบความสำเร็จ เราเองยังคงไม่ละทิ้ง การจัดทัพปรับทีมให้พร้อมอยู่เสมอสำหรับการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ช่วงนี้จึงเป็นยุคที่มีการปฏิรูปการจัดการต่างๆ เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น กับธุรกิจให้ได้มากที่สุด และด้วยเหตุนี้ประกอบกับการเติบโตอย่างต่อเนื่องของธุรกิจท่องเที่ยว จึงทำให้เราสามารถสร้างผลิตภัณฑ์และกิจกรรมต่างๆ ที่เชื่อมโยงกับธุรกิจท่องเที่ยวได้อย่างลงตัว ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์นมตรา Umm!..Milk และธุรกิจที่พักในรูปแบบ Boutique Camp ภายใต้ชื่อ Farm Chokchai Camp ดังนั้นจะเห็นได้ว่าในช่วงเวลานี้ รายได้ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นจากธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการเพิ่มมูลค่า ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร และผลิตภัณฑ์ เกษตรแปรรูป เป็นหลัก นอกจากนั้น ยังมีรายได้ใหม่ที่เกิดขึ้นจากการขายประสบการณ์ ผ่านธุรกิจให้คำปรึกษา และการถ่ายทอดประสบการณ์ในเวทีบรรยาย ต่างๆเพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่งด้วย
2550-2554
ช่วงเวลาของการปฏิรูปความรู้ (Rejuvenation) ด้วยวิสัยทัศน์ของผู้บริหารที่ต้องการเห็นองค์กรในอนาคตเป็น People and HR Based Organization นั่นคือ องค์กรต้องถูกขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่องโดยทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ มีศักยภาพ มีทักษะและความสามารถในการทำงานเป็นทีม ดังนั้นฟาร์มโชคชัยจึงก้าว เข้าสู่ยุคแห่งการเพิ่มพลังให้กับองค์กร เป็นยุคที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มุ่งเน้นการเพิ่มขีดความสามารถและทักษะของบุคลากรเดิม รวมทั้งการสร้างบุคลากรใหม่ขึ้นมาทดแทน
ทั้งนี้ก็เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่จะเกิดขึ้นในโลกของการแข่งขันในอนาคต
และด้วยทักษะ ความรู้และประสบการณ์ที่ผ่านการลงมือปฏิบัติจริง จากนี้และต่อไป สิ่งที่ฟาร์มโชคชัยปรารถนาคือ การยืนอยู่ในสังคมอย่างมีคุณค่า อยู่ในสังคมที่เต็มไปด้วยการแบ่งปัน และเผื่อแผ่ความรู้ ดำเนินธุรกิจโดยอยู่บนพื้นฐานของการใช้ความรู้ ความสามารถ เพื่อให้สมกับปณิธานที่ตั้งไว้ว่า เราคือธุรกิจ ‘จากดิน…สู่ภูมิปัญญา’ อย่างแท้จริง ซึ่งก็คงยืนยันได้จากโครงการ Extension School และ Professional Course Training ที่อยู่ในระหว่างการเตรียมความพร้อมเพื่อดำเนินการในอนาคตอันใกล้ด้วยเช่นกัน

ธุรกิจในเครือของฟาร์มโชคชัย ภายใต้การบริหารงานของ คุณโชค บูลกุล
1. บริษัท โชคชัยอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
2 .บริหารสินทรัพย์ทางด้านอสังหาริมทรัพย์ ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง อาคาร และสถานที่ให้เช่า
3 .บริษัท โชคชัยฟู้ดแอนด์เรสโทรองท์ จำกัด ประกอบธุรกิจภัตตาคารภายใต้ชื่อ โชคชัยสเต็กเฮ้าส์และโชคชัย สเต็คเบอร์เกอร์ คัดสรรและแปรรูปวัตถุดิบเพื่อจำหน่ายให้แก่ธุรกิจภัตตาคารภายในกลุ่มบริษัท
4 .บริษัท ฟาร์มโชคชัย จำกัด ดำเนินธุรกิจฟาร์มโคนมแบบครบวงจร และพัฒนาแม่พันธุ์โคนมเพื่อการส่งออก
5 .บริษัท โชคชัยแรนช์ จำกัด ประกอบธุรกิจด้านอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ และอาหารโคนม ปัจจุบันมีกำลังการผลิตที่ 3,500 ตันต่อเดือน โดย 20% ของกำลังการผลิต ผลิตเพื่อใช้เองภายในฟาร์ม ส่วนอีก 80% ผลิตเพื่อจำหน่ายให้แก่ เพื่อนสมาชิกเกษตรกรภายนอก นอกจากนั้นยังเป็นผู้จัดจำหน่ายยา และแร่ธาตุสำหรับสัตว์
6 .บริษัท โชคชัยแรนช์รีสอร์ท จำกัด ประกอบธุรกิจท่องเที่ยว ที่พัก และค้าปลีก
7 .บริษัท โชคชัยฟาร์มโปรดิวซ์ จำกัด ประกอบธุรกิจด้านการผลิต แปรรูปและ จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์นมภายใต้ตราสินค้า Umm!..Milk (อืมม!..มิลค์)
8 .บริษัท บิซคิด จำกัด ประกอบธุรกิจให้คำปรึกษาทางด้านการบริหารจัดการ และการตลาด การฝึกอบรม และถ่ายทอดประสบการณ์
หลักการบริหารงานของ คุณโชค บูลกุล
วิสัยทัศน์: “มุ่งสู่ระบบบริหารจัดการ การสื่อสารภายในองค์กร และการบริหารความรู้ให้เกิดมูลค่า บนขีดความสามารถสูงสุดของบุคลากร ในการนำองค์กรก้าวสู่ธุรกิจเพื่อสังคมอย่างมั่นคงและยั่งยืน”

พันธกิจ: พัฒนาระบบบริหารจัดการภายในองค์กรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
เปลี่ยนประสบการณ์และความรู้ให้เป็นทุน
พัฒนาบุคลากรให้มีทักษะ และศักยภาพสูงสุดต่อทั้งองค์กรและสังคม

ปรัชญาการดำเนินงาน: สนับสนุนการพัฒนาบุคลากร ไม่ย่อหย่อนในกระบวนการสื่อสาร ให้ความสำคัญกับระบบบริหารจัดการ พัฒนางานสู่องค์กรธุรกิจเพื่อสังคม
สนับสนุนการพัฒนาบุคลากร: เร่งสร้างบุคลากรที่มีคุณค่าต่อองค์กร และสังคม
ไม่ย่อหย่อนในกระบวนการบริหาร: มีการปรับปรุงและพัฒนาระบบการบริหารให้คงประสิทธิภาพ และมีความทันสมัยอยู่เสมอ
ให้ความสำคัญกับระบบการจัดการ: มีการควบคุมดูแลกิจการโดยยึดหลักบรรษัทภิบาลเป็นที่ตั้ง
พัฒนางานสู่องค์กรธุรกิจเพื่อสังคม: นำองค์กรไปสู่การเป็นพลเมืองบรรษัท และเป็นองค์กรธุรกิจเพื่อสังคมอย่างแท้จริง

หลักปรัชญาของ คุณโชค บูลกุล – กระดูกสันหลัง และระบบโครงกระดูก
ทำหน้าที่เป็นโครงร่างในการทรงตัว เป็นส่วนที่รองรับน้ำหนัก เป็นที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อ ทำให้มนุษย์ยืน และเคลื่อนไหวได้ หากร่างกายมีโครงสร้างของกระดูกสันหลัง และมีระบบโครงกระดูกที่แข็งแรง ก็จะส่งผลต่อโครงสร้างของร่างกายที่แข็งแกร่ง และพร้อมสำหรับการเจริญเติบโตในอนาคต เช่นเดียวกับ สายงานบริหาร ที่เปรียบเสมือนเป็นโครงสร้าง หรือกระดูกสันหลังที่แข็งแกร่งขององค์กร หากนโยบายในสายงานบริหารมีความเข้มแข็ง ก็เป็นการเพิ่มความได้เปรียบในการเจริญเติบโตขององค์กร และเพิ่มขีดความสามารถของการแข่งขันในอนาคต และอีกหนึ่งในหน้าที่ที่สำคัญของสายงานบริหารก็คือ การสร้างความมั่นคงให้แก่ทุกธุรกิจในกลุ่มบริษัท ทั้งนี้ก็เพื่อความเข้มแข็งและมั่นคงขององค์กรโดยรวมนั่นเอง

ระบบไหลเวียนเลือด หรือเส้นเลือด
เป็นเสมือนท่อลำเลียงสารอาหาร แร่ธาตุ วิตามิน และ ฮอร์โมนไปยังอวัยวะต่างๆของร่างกาย เพื่อช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโต หรือซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และยังมีหน้าที่ในการลำเลียงสารพิษหรือของเสียเพื่อส่งออกนอกร่างกายด้วยเช่นกัน เฉกเช่นเดียวกับ สายงานบริหาร ที่ต้องทำหน้าที่ในการเสริมสร้าง สนับสนุน และจัดสรรงบประมาณลงไปให้แก่ทุกส่วนงานอย่างทั่วถึง พร้อมทั้งสร้างนโยบายที่มีความชัดเจนต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างการเจริญเติบโตให้แก่องค์กร และซ่อมแซมส่วนที่มีปัญหาให้กลับมาทำงานได้อย่างเป็นปกติ

ระบบประสาท
ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการสั่งการและการสร้างคำสั่งผ่านการรับรู้จากประสาทสัมผัสต่างๆ เพื่อส่งไปยังสมอง และส่งสัญญาณที่แปลแล้วจากสมองกลับไปยังอวัยวะต่างๆ เพื่อให้การตอบสนองและการทำงานของทุกอวัยวะเป็นไปอย่างสัมพันธ์กัน สายงานบริหาร ก็เปรียบได้กับระบบประสาท ที่ต้องสร้างระบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ เพื่อนำข้อมูล ความรู้ ประสบการณ์ ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะจากพนักงานส่งขึ้นมายังผู้บริหาร เพื่อสร้างให้เป็นนโยบายหรือแนวทางในการปฏิบัติ กลับลงไปสู่พนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อการประสานงานอันจะก่อให้เกิดศักยภาพต่องานและองค์กรสูงสุด

สมอง
เป็นระบบประสาทส่วนกลางที่ทำหน้าที่ควบคุมการรับรู้ ประมวลผล สั่งการ และทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ต่างๆ โดยการแปลงสัญญาณระหว่างกระบวนการเรียนรู้และการกระทำ เช่นเดียวกับ สายงานบริหาร ที่ต้องมีกระบวนการรับ และรวบรวมจัดเก็บข้อมูลที่ผ่านการเรียนรู้จากประสบการณ์ เพื่อนำไปประมวลผล แล้วเปลี่ยนกลับมาเป็นประสบการณ์ใหม่ที่ทรงประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิม ดังนั้น ผู้บริหารจึงต้องเป็นคลังสมองที่สามารถรับรู้และประมวลผลจากประสบการณ์ที่ได้รับ ให้กลับไปเป็นประสบการณ์ใหม่ที่สามารถนำไปถ่ายทอดให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร ซึ่งนั่นหมายถึง การเปลี่ยนความรู้ให้เป็นทุน การพัฒนาเป็นธุรกิจให้คำปรึกษา และการผ่องถ่ายความรู้จากประสบการณ์ให้เป็นวิทยาทานแก่สังคมนั่นเอง

แนวทางการใช้กลยุทธ์ ของ คุณโชค บูลกุล
กำหนดนโยบายที่มีความชัดเจนและมั่นคง เพื่อ
1. รองรับสถานการณ์การเจริญเติบโตของธุรกิจ ทั้งระยะสั้น (1 ปี) ระยะกลาง (3 ปี) และระยะยาว (5 ปี)
2. รองรับสถานการณ์ในช่วงวิกฤต ที่ได้มีการคาดการณ์หรือประเมินไว้ล่วงหน้า
3. รองรับการเปลี่ยนแปลงในสถานการณ์เฉพาะหน้า ที่อาจเกิดขึ้นได้จากความผันผวนของภาวการณ์ หรือ ปัจจัยต่างๆภายนอกซึ่งนอกเหนือการคาดการณ์ และทุกนโยบายต้องสามารถก่อให้เกิดความเข้าใจจากผู้รับผิดชอบที่มาจากต่างวิชาชีพ ต่างประสบการณ์ ให้มีอุดมการณ์และมองเห็นเป้าหมายร่วมกันให้ได้ กำหนดนโยบายที่สนับสนุน หรือเสริมสร้างให้ทุกหน่วยงาน ทุกแผนก ทุกฝ่าย และทุกส่วนขององค์กร ได้รับความราบรื่นในการปฏิบัติงานและก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในงานสูงสุด โดย พิจารณาให้การสนับสนุนด้านงบประมาณอย่างเหมาะสม ดำเนินงานในขั้นตอนต่างๆของการขออนุมัติอย่างเป็นระบบ และเป็นไปอย่างรอบคอบ ฉับไว บนมาตรฐานหรือบรรทัดฐานเดียวกัน เสริมสร้างกำลังใจ และแรงบันดาลใจให้เกิดขึ้นกับพนักงานในทุกระดับหากเกิดปัญหาการสื่อสารภายในองค์กรที่เกี่ยวข้องกับภาคนโยบาย ทั้งปัญหาที่เกิดขึ้นจากส่วนปฏิบัติการร้องขอมายังคณะผู้บริหาร หรือ เกิดจากการถ่ายทอดจาก คณะผู้บริหารลงไปยังส่วนปฏิบัติการ ผู้รับผิดชอบคือ คณะผู้บริหาร (CE Executives) ดังนั้น เพื่อให้การสื่อสารภายในองค์กรไม่ขาดตกบกพร่อง และเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด คณะผู้บริหารต้องจัดวางมาตรการ หรือระบบในการป้องกัน และตรวจสอบปัญหาที่เกิดขึ้น อย่างรัดกุมและชัดเจน สมอง = CE Executives (คณะผู้บริหาร) ต้องทำหน้าที่ในการใช้สติปัญญาและวิจารณญาณ วิเคราะห์ พิจารณาควบคุมกระบวนการในข้อ 1, 2 และ 3 ให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด โดยคณะผู้บริหารต้องเรียนรู้ปัญหาหรือสิ่งที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานในข้อ 1, 2 และ 3 รวมถึงต้องมีการประมวลผล และจัดเก็บความรู้หรือประสบการณ์นั้นๆอย่างเป็นระบบ ทั้งนี้เพื่อ นำมาใช้ในการสร้างบุคลากรและผู้บริหารในรุ่นต่อไป และ นำมาใช้ถ่ายทอดเพื่อให้คำปรึกษา หรือเป็นวิทยาทานให้แก่องค์กรภายนอก ทั้งองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึงสถาบันการศึกษาต่างๆ

บทบาทและหน้าที่ของผู้บริหาร ของ คุณโชค บูลกุล
1. ดำรงไว้ซึ่งความรับผิดชอบ
1.1 ความมั่นคงของทุกธุรกิจในกลุ่มบริษัท
ผู้บริหารนอกเหนือจากจะมีบทบาทหน้าที่ในการกำกับดูแลปัจจัยต่างๆที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของกิจการหรือธุรกิจที่ตนรับผิดชอบ ซึ่งอาจเกี่ยวเนื่องกับบุคลากรในสังกัด หรือระบบการบริหารงานภายใต้สายบังคับบัญชาของตนแล้ว ยังต้องตระหนักถึงสถานภาพความมั่นคงของธุรกิจ ในภาพรวมเป็นสำคัญ นั่นคือ การสร้างความมั่นคงให้เกิดขึ้นแก่ธุรกิจหรือกิจการที่ตนรับผิดชอบนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีความสอดคล้อง และเกี่ยวเนื่องกับการรักษาความมั่นคงในภาพรวมขององค์กรด้วย
1.2 การเติบโตของรายได้
ความรับผิดชอบต่อการเติบโตของรายได้ในที่นี้หมายถึง การควบคุมดูแลการเติบโตของรายได้ให้เป็นไปในอัตราที่เหมาะสม ตามเงื่อนไขที่ได้ถูก กำหนดไว้ในเวทีการประชุม CE Executives โดยต้องอยู่บนความรับผิดชอบต่อการควบคุมค่าใช้จ่าย ให้เป็นไปตามงบประมาณที่ทางคณะผู้บริหาร ได้มีการตกลงกันไว้ก่อนหน้า
1.3 บุคลากรภายใต้การบังคับบัญชาของตน
ผู้บริหารมีภาระหน้าที่รับผิดชอบต่อการปฏิบัติงาน ความประพฤติ จิตสำนึก และการปฏิบัติตามกฎ หรือระเบียบบริษัทของผู้ใต้บังคับบัญชาในสังกัด อย่างเคร่งครัด ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์กร และเพื่อตอบโจทย์ของการได้มาซึ่งรางวัล Thailand Top 100 HR
1.4 วิสัยทัศน์ และพันธกิจขององค์กร
ผู้บริหารต้องรับผิดชอบต่อวิถีทางในการดำเนินไปสู่เป้าหมายของธุรกิจ รวมถึงการบรรลุซึ่งวิสัยทัศน์ และพันธกิจของส่วนธุรกิจที่ตนดูแลรับผิดชอบ ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้อง หรือสนองตอบวิสัยทัศน์ และพันธกิจขององค์กรให้ได้ในท้ายที่สุด

2. ดำรงไว้ซึ่งศักยภาพของทีม เพื่อ
2.1 ประสิทธิภาพสูงสุดของคณะผู้บริหาร CE Executives
ผู้บริหารต้องสร้างข้อตกลงร่วมกันถึงวิธีการสื่อสารภายในกลุ่ม เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งนี้เพื่อความเข้าใจที่จะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และเพื่อลดข้อขัดแย้งที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในระหว่างการดำเนินงาน ซึ่งผลงานของทีมจะเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ถูกนำมาใช้เพื่อเป็นเกณฑ์ ในการพิจารณาปรับฐานรายได้ต่อไป ดังนั้น ประสิทธิผลสูงสุดของการทำงานเป็นทีมจะเกิดขึ้นได้ ย่อมต้องอาศัยการสื่อสารบนเหตุและผลเป็นสำคัญ ควรลด ละ เลิก การใช้อารมณ์ บรรยากาศของการทำงานเป็นทีมจะต้องมาจากการเรียบเรียงประเด็นที่ต้องการสื่อสารให้ชัดเจน การพิจารณาไตร่ตรอง อย่างถ้วนถี่ก่อนนำเสนอ เพื่อให้ประเด็นการวิเคราะห์พิจารณาต่างๆที่เกิดขึ้นในเวทีการประชุมนั้น เป็นไปอย่างสร้างสรรค์
2.2 การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในส่วนงานที่ตนรับผิดชอบ
ผู้บริหาร หรือผู้บังคับบัญชาทุกระดับ มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบต่อการพัฒนาทักษะ ความสามารถ รวมถึงสนับสนุนให้เกิดการแสดงออกซึ่งศักยภาพของ ผู้ใต้บังคับบัญชาของตนอย่างเต็มกำลัง เพื่อให้ส่วนรวมได้เห็นถึงผลงานในเชิงประจักษ์ และพัฒนาการในการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชาของตนให้ได้

ธุรกิจการเกษตรของ ฟาร์มโชคชัย
ภาพรวมธุรกิจการเกษตร
วิสัยทัศน์: “เราจะเป็นแบบอย่างของธุรกิจฟาร์มโคนมขนาดใหญ่แบบครบวงจร ที่มีการบริหารงานอย่างมืออาชีพ”
พันธกิจ:
1.บริหารธุรกิจฟาร์มโคนมและธุรกิจอาหารสัตว์ซึ่งเป็นธุรกิจหลักให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดบนพื้นฐาน ของความรับผิดชอบต่อสังคม
2.เป็นรากฐานที่มั่นคงให้แก่กลุ่มบริษัท เพื่อการพัฒนาต่อยอดธุรกิจให้มีมูลค่าเพิ่มและเติบโตได้อย่างยั่งยืน
3.ผ่องถ่ายความรู้จากประสบการณ์ในวิชาชีพให้แก่สังคม (เปลี่ยนประสบการณ์กลับสู่ตำรา)
ปรัชญาการดำเนินงาน: เสริมสร้างศักยภาพการแข่งขัน มุ่งมั่นผลงาน เชี่ยวชาญรอบรู้ บริหารสู่ความคุ้มทุน
เสริมสร้างศักยภาพ ในการแข่งขัน: สร้างความมั่นคงให้แก่ธุรกิจหลัก เพื่อสนับสนุนการพัฒนาต่อยอดธุรกิจของกลุ่มบริษัท และรองรับการแข่งขันในอนาคต
มุ่งมั่นผลงาน: เพิ่มศักยภาพการผลิตโคนมพันธุ์ดี เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตน้ำนมดิบให้ได้ปริมาณมากและมีคุณภาพสูง โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคเป็นสำคัญ และพยายามลดการเบียดเบียนสังคม และสิ่งแวดล้อมให้ได้มากที่สุด
เชี่ยวชาญรอบรู้: ผลิตบุคลากรที่มีทักษะความชำนาญในด้านการเกษตร มีคุณธรรม และจริยธรรมในวิชาชีพ มีความมุ่งมั่น ขวนขวาย และสามารถถ่ายทอดความรู้จากประสบการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
บริหารสู่ความคุ้มทุน: มีการบริหารต้นทุนและความเสี่ยงของธุรกิจ บนหลักการและแนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ฟาร์มโคนม
ดำเนินกิจการโดย บริษัทฟาร์มโชคชัย จำกัด ประกอบธุรกิจฟาร์มโคนมขนาดใหญ่ ที่มีฝูงโคนมกว่า 3,000 ตัว เป็นกิจการฟาร์มโคนมที่มีเทคโนโลยีในการพัฒนาสายพันธุ์ มีระบบการจัดการที่อยู่ในระดับมาตรฐานสากล มีหน่วยงานรับผิดชอบดูแลฝูงโคนมในแต่ละระยะของการเจริญเติบโตอย่างมืออาชีพด้วยประสบการณ์ และความรู้ที่สั่งสมมาอย่างยาวนานกว่าครึ่งศตวรรษ รวมทั้งมีกระบวนการจัดการพืชอาหารสัตว์เพื่อรองรับ ฝูงปศุสัตว์ขนาดใหญ่อย่างเป็นระบบ รายได้หลักมาจากการจำหน่ายน้ำนมดิบ ที่ผลิตได้จากแม่โคนมสายพันธุ์ดี ซึ่งให้ผลผลิตวันละประมาณ 22 ตัน โดย 1 ใน 4 ของผลผลิตน้ำนมดิบจะถูกป้อนเข้าสู่โรงงานผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์นมตราUmm!..Milk ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์นมเพียงแบรนด์เดียวของฟาร์มโชคชัย น้ำนมดิบอีก 3 ส่วนที่เหลือจะจัดจำหน่ายให้แก่ ผู้ประกอบการ ที่ต้องการน้ำนมดิบคุณภาพดีเพื่อใช้ในการแปรรูปผลิตภัณฑ์นมต่อไป ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าธุรกิจฟาร์มโคนมของเราเป็นธุรกิจที่สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างสมบูรณ์แบบฟาร์มโชคชัยนับเป็นฟาร์มโคน ฟาร์มแรกของทวีปเอเชียที่ได้รับการยอมรับในมาตรฐานการผลิตแม่พันธุ์โคนม
เพื่อการส่งออก ซึ่งปัจจุบันแม่พันธุ์โคนมสายพันธุ์โชคชัยฟรีเชี่ยนกระจายอยู่ในหลายประเทศ ยกตัวอย่างเช่น 
ประเทศมาเลเซีย สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นต้น

นอกจากนั้นส่วนสำคัญของธุรกิจฟาร์มโคนมก็คือ ส่วนงานวิจัยและพัฒนา ทั้งนี้เพื่อการพัฒนาปรับปรุงสายพันธุ์โคนม และการเพิ่มมูลค่าให้แก่ธุรกิจอย่างต่อเนื่อง

กลยุทธ์ธุรกิจฟาร์มโคนม
รักษามาตรฐานคุณภาพน้ำนมดิบให้เหนือกว่ามาตรฐานของประเทศ เพื่อสร้างอำนาจในการต่อรองกับคู่ค้า
รักษาฐานการผลิตให้คงไว้ซึ่งการเป็นฟาร์มโคนมเอกชนขนาดใหญ่ที่มียอดการผลิตสูงสุดต่อฟาร์ม ตรึงระดับสายเลือดโคนมสายพันธุ์โชคชัยฟรีเชี่ยน ให้มีระดับสายเลือดของโฮลสไตน์ฟรีเชี่ยนที่ 93% เพื่อสร้างต้นแบบของแม่พันธุ์โคนมที่เหมาะสมที่สุดกับสภาพแวดล้อมในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อผลพลอยได้ทางการตลาด และชื่อเสียงของการเป็นสถาบันในอนาคต ผลกำไรของธุรกิจต้องเกิดจากการบริหารต้นทุนที่ดีเกินกว่ามาตรฐานสากล
เป็นพื้นฐานของการสร้าง Corporate Identity หรือ Corporate Branding สร้างธุรกิจฟาร์มโคนม ให้เป็นธุรกิจที่สามารถดึงดูดบุคลากรที่มีความใฝ่ฝันในวิชาชีพนี้ให้เข้ามาร่วมงาน คงไว้ซึ่งการเป็นธุรกิจหลักที่เป็นจุดแข็งขององค์กร เพื่อเป็นพื้นฐานของการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ธุรกิจในอนาคต

กลยุทธ์ธุรกิจอาหารสัตว์
อาหาร “CR” ผลิตเพื่อฟาร์มโชคชัย โดนใจเพื่อนเกษตรกร คัดสรรลูกค้าที่มีความมั่นคง มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในการทำธุรกิจฟาร์มโคนม และ ไม่อ่อนไหว กับสถานการณ์การตลาด พร้อมเรียนรู้และพัฒนาขีดความสามารถของตน (Selective Marketing) คุณภาพของอาหาร “CR” ต้องอยู่ในระดับ B- ถึง A+ ผลกำไรของธุรกิจต้องเกิดจากการบริหารต้นทุนที่ดีเกินกว่ามาตรฐานสากล เข้าใจ เข้าถึง สัมผัสได้ จากฟาร์มโชคชัยสู่เพื่อนเกษตรกร เข้าถึงลูกค้าด้วยข้อมูลข่าวสาร หรือ คำปรึกษา ในฐานะเกษตรกรด้วยกัน ใช้ CRM บริหารลูกค้าที่มีศักยภาพ ให้มีความเชื่อมั่น ศรัทธา และผูกพันกับแบรนด์ไปอย่างต่อเนื่อง พัฒนาช่องทางในการทำ Co-Product Marketing หรือการทำการตลาดเชิงเกื้อกูลกันระหว่าง สินค้าภายในกลุ่มบริษัท พัฒนาช่องทางในการจัดจำหน่าย ยา และแร่ธาตุสำหรับสัตว์

วิจัยและพัฒนา
กลุ่มบริษัทฟาร์มโชคชัยเชื่อว่า องค์กรที่จะประสบความสำเร็จได้ในอนาคตนั้น ส่วนงานวิจัย และพัฒนา ถือเป็นส่วนงานที่มีบทบาทที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าส่วนงานอื่นๆ ทั้งนี้เพราะโอกาสและนวัตกรรมใหม่ๆ จะสามารถเกิดขึ้นได้หากมีกระบวนการวิจัยและพัฒนา การบริหารจัดเก็บข้อมูลความรู้ และประสบการณ์ขององค์กร อย่างเป็นระบบ รวมถึงการได้รับองค์ความรู้และความร่วมมือจากหน่วยงานภายนอก ดังนั้น เราจึงมี โครงการวิจัย หลายโครงการที่ดำเนินการร่วมกับสถาบันการศึกษา และมหาวิทยาลัยชั้นนำต่างๆของประเทศอย่างมากมาย

กลยุทธ์การวิจัยและพัฒนา
1. สร้างรายได้ใหม่จากงานวิจัยที่สอดคล้องกับนโยบายของธุรกิจ
2. พัฒนา ปรับปรุง สนับสนุน การบริหารจัดการฟาร์มโคนมให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
3. จัดเก็บความรู้องค์กร ประมวลผล เพื่อเข้าสู่กระบวนการเปลี่ยนความรู้ให้เป็นทุน

ธุรกิจอุตสาหกรรมบริการ
ภาพรวมธุรกิจอุตสาหกรรมบริการ
วิสัยทัศน์: “มุ่งมั่นสู่ความเป็นเลิศในอุตสาหกรรมบริการที่มีคุณภาพเหนือกว่ามาตรฐานสากล”
พันธกิจ: 1. ผลิตและสร้างสรรค์สินค้าและบริการที่มีคุณค่า สาระ และแรงบันดาลใจ ด้วยมาตรฐานที่เกินความคาดหมายของลูกค้า
2. สร้างความผูกพันให้แก่สินค้าและบริการ ด้วยประสบการณ์ที่ลูกค้าสัมผัสได้
3. ผลิตสินค้าและบริการภายใต้แนวคิด “ของดี มีจำนวนจำกัด” (Limited Edition Marketing)
4. ผลิตบุคลากรที่มีจิตสำนึกที่ดีในงานบริการ ตามหลักสูตร “Exclusive Service Mind Program” (ESM Program)
เป็นเลิศในอุตสาหกรรมบริการ: เป็นเลิศในอุตสาหกรรมบริการ เร่งสร้างมาตรฐานเหนือการแข่งขัน เปลี่ยนประสบการณ์ให้เป็นยิ่งกว่าความผูกพัน พัฒนาทีมงานอย่างสร้างสรรค์เพื่อก้าวต่อไป
เร่งสร้างมาตรฐาน
เหนือการแข่งขัน: ผลิตและสร้างสรรค์สินค้าและบริการที่มีมาตรฐานเกินความคาดหมายของลูกค้า และเหนือกว่าคู่แข่งขัน
เปลี่ยนประสบการณ์ ให้เป็นยิ่งกว่าความผูกพัน: สร้างความผูกพันให้เกิดขึ้นกับสินค้าและบริการด้วยประสบการณ์ที่ลูกค้าได้สัมผัสจริง
พัฒนาทีมงานอย่างสร้างสรรค์ เพื่อก้าวต่อไป: สร้างทีมงานที่มีศักยภาพ และมีหัวใจบริการ หรือมีจิตสำนึกที่ดีในการให้บริการ

ท่องเที่ยว
ดำเนินการโดย บริษัทโชคชัยแรนช์รีสอร์ท จำกัด เป็นธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในฟาร์ม ปศุสัตว์ ภายใต้ชื่อ Farm Chokchai Agro-Knowledge Tourism ที่เปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยว ได้สนุกสนานเพลิดเพลินบนพื้นฐานของการเรียนรู้ ผ่านประสบการณ์ที่สัมผัสได้จริงจากวิถีชีวิต ของเกษตรกรฟาร์มโคนม

ด้วยหวังว่าบรรยากาศของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่งดงาม เมื่อผนวกเข้ากับกิจกรรมที่สร้างสรรค์ และความจริงใจของคนเกษตร จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยกล่อมเกลาจิตใจของผู้คนให้อ่อนโยนลง ช่วยเสริมสร้างสัมพันธภาพที่ดีให้เกิดขึ้นภายในครอบครัว และที่สำคัญจะช่วยกระตุ้นเตือนจิตสำนึก ให้ผู้คนไม่หลงลืมในวิชาชีพซึ่งได้ชื่อว่าเป็นอาชีพพื้นฐานของคนไทย นั่นก็คือ อาชีพเกษตรกรรม

กลยุทธ์ธุรกิจท่องเที่ยว
กลยุทธ์ “ขาย 5 ไม่ขายหน้า”
Limited Edition Marketing หรือ การทำการตลาดภายใต้แนวคิด “ของดี มีจำนวนจำกัด”

กลยุทธ์ “ขาย 5 ไม่ขายหน้า” คือการขายรายละเอียด นั่นคือการที่เราพิถีพิถันและเอาใจใส่ในรายละเอียดปลีกย่อยของธุรกิจ ไม่ละเลยหรือมองข้ามในสิ่งเล็กๆน้อยๆ เพราะเราระลึกอยู่เสมอว่าทุกรายละเอียดล้วนมีความ
สำคัญที่สามารถแสดงออกถึงความจริงใจและบ่งบอกได้ถึงจิตสำนึกที่ดีในการ ดำเนินธุรกิจ ขายระบบจัดการ ระบบจัดการที่มีประสิทธิภาพ นำมาซึ่งธุรกิจที่ดำเนินไปอย่างมีทิศทาง การมีระบบจัดการที่ดีสามารถเอื้อประโยชน์ต่อ การวางแผน และตรวจสอบ ทำให้เราประเมินได้ถึงความเสี่ยง วิเคราะห์ได้ถึงจุดอ่อน จุดแข็ง หรือโอกาสของธุรกิจ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับสิ่งต่างๆที่จะเกิดขึ้นกับธุรกิจขายบรรยากาศ การบริหารบรรยากาศเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เราไม่เคยมองข้ามเช่นกัน บรรยากาศของการท่องเที่ยวฟาร์มโชคชัย นักท่องเที่ยวจะต้องสามารถสัมผัสและรับรู้ได้โดยผ่านทุกโสตประสาท ตาได้มองเห็นสิ่งที่สวยงาม หูได้ยินเสียงของธรรมชาติที่รายล้อม จมูกได้สูดกลิ่นอายของความเป็นฟาร์ม ปากได้ลองลิ้มชิมรสอาหารที่อร่อยเลิศ มือได้สัมผัสกับความสะอาดและปลอดภัย ความรู้สึกที่รับรู้ได้ผ่านทุกประสาทสัมผัสนี้จะช่วยผ่อนคลายและบรรเทาความตึงเครียด รวมถึงช่วยกล่อมเกลาจิตใจให้คลายความกังวล

ขายบริการที่เกินความคาดหมาย สิ่งใดก็ตามที่ดีเกินความคาดหวัง สิ่งนั้นย่อมสร้างให้เกิดความประทับใจ และความประทับใจที่เกิดขึ้น อย่างถึงขีดสุดย่อมนำมาสู่การจดจำและการกล่าวถึง ดังนั้นปรากฏการณ์ ‘ปากต่อปาก’ รวมถึงการจดจำได้ซึ่งตราสินค้าและมาตรฐาน การบริการ จึงนับเป็นตัวอย่างหนึ่งของผลลัพธ์ที่เราได้จากการขายบริการที่เกินความคาดหมายนั่นเอง

ขายประสบการณ์ใหม่ของการท่องเที่ยว เราขายความต่างของประสบการณ์ที่ลูกค้าไม่สามารถหาได้จากที่อื่นๆ เราสร้างประสบการณ์ใหม่ให้ลูกค้าได้สัมผัสและจับต้องได้ ลูกค้าจึงสามารถเข้าถึงและเข้าใจในเหตุผลของการดำเนินธุรกิจ รวมถึงที่มาที่ไปของกิจกรรมต่างๆที่เกิดขึ้น

นอกจากนี้เรายังได้สร้างบรรทัดฐานใหม่ให้เกิดขึ้นกับธุรกิจประเภทนี้ด้วยการกระตุ้นให้เกิดการแข่งขันในการสร้างความแตกต่าง ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ท้าทายอันจะนำมาซึ่งการเกิดนวัตกรรมใหม่ของการท่องเที่ยวต่อไป
แต่อีกสิ่งหนึ่งที่เราคิดว่ายังคงเป็นเรื่องที่ค่อนข้างท้าทายความสามารถของเราอยู่ไม่น้อย คือ การที่เราต้องสื่อสารองค์ความรู้ที่มี แล้วผ่องถ่ายให้สังคมรับรู้และเข้าใจในสิ่งที่ต้องการถ่ายทอดให้ได้ ทั้งนี้ด้วยหวังว่าสิ่งใหม่ๆที่ยังไม่มีใครเป็นต้นแบบนี้จะเกิดขึ้น เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่สังคมในภายหน้า

ที่พัก
ดำเนินการโดย บริษัทโชคชัยแรนช์รีสอร์ท จำกัด เป็นผลงานที่ถูกรังสรรค์ขึ้นภายใต้โครงการ Farm Chokchai Boutique Camping & Activities Package เพื่อให้ลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการได้มีโอกาสซึมซับ กลิ่นอายของธรรมชาติ ที่มีศิลปะและการออกแบบ แทรกซึมอยู่ในทุกอณูของผืนป่ากว่า 250 ไร่ ใจกลางฟาร์มโชคชัย และด้วยความต้องการเห็นพื้นที่ป่าแห่งนี้ กลายเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยปลุกเร้าจิตสำนึกของผู้คนให้เกิดความรู้สึกรัก และหวงแหนในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผืนป่าจึงถูกออกแบบมาเพื่อสนองตอบความต้องการของผู้คน รวมถึงกลุ่มองค์กรที่โหยหาความต่างในบรรยากาศ และภูมิทัศน์อันเป็นธรรมชาติที่ปราศจากการเติมแต่งความไม่ธรรมดา ของสถานที่ล้วนแล้วแต่เกิดขึ้นจากแนวคิด และความตั้งใจที่ใส่ลงไปในระบบการจัดการอันยอดเยี่ยม เพื่อรองรับผู้คนที่ กำลังต้องการหลีกหนีจากความจำเจ หลบเลี่ยงความวุ่นวายในโลกของการแข่งขัน และปรารถนาได้สัมผัสกับธรรมชาติอย่างใกล้ชิด ภายใต้คอนเซ็ปต์ “Back to Basics in Touch of Nature”

ดังนั้น สถานที่แห่งนี้จึงเป็นเสมือนมุมสงบบนสังคมโลกที่วุ่นวาย ที่ยังคงไว้ซึ่งมาตรฐานการบริการ ความปลอดภัย และความร่วมสมัยได้อย่างลงตัว

กลยุทธ์ธุรกิจที่พัก
สร้างการรับรู้ให้ลูกค้าด้วยแนวคิด “Slow is Beautiful” ถึงแม้จะต้องอยู่บนโลกแห่งความเร่งรีบ แต่ความเรียบง่ายจะกลายเป็นสิ่งที่หลายคนโหยหา การใช้เวลาเพื่อสัมผัสกับความงดงามในคุณค่าแห่งชีวิตและธรรมชาติจะเป็นความ ปรารถนาของผู้คนในอนาคต ดังนั้นการเป็นที่พักในผืนป่าที่ถูกออกแบบมาอย่างร่วมสมัย เพื่อสนองตอบความต้องการ ของคนที่อยากจะหลีกหนีจากโลกของการแข่งขัน หรือหลุดพ้นจากความซ้ำซากจำเจ และปรารถนากลับเข้ามาสัมผัส กับธรรมชาติที่ยังคงไว้ซึ่งมาตรฐานความปลอดภัย มาตรฐานการจัดการ และมาตรฐานการให้บริการที่เกินกว่าความ คาดหมายจึงน่าจะเป็นความรื่นรมย์ที่สมบูรณ์แบบที่สุด กลยุทธ์ “ขาย 5 ไม่ขายหน้า”
Limited Edition Marketing หรือ การทำการตลาดภายใต้แนวคิด “ของดี มีจำนวนจำกัด”

ผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์นม
“นมสดตราฟาร์มโชคชัย” ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ของฟาร์มโชคชัย !!
ธุรกิจผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์นมภายใต้แบรนด์ Umm!..Milk เกิดขึ้นจากการท่องเที่ยวเชิงเกษตรฟาร์มโชคชัย ซึ่งหนึ่งในกิจกรรมนั้นก็คือ การให้ลูกค้าได้เรียนรู้ถึงที่มาที่ไปของผลิตภัณฑ์นม ซึ่งได้ผูกเรื่องราวตั้งแต่กระบวนการ เลี้ยงโคนม กระบวนการรีดนม ไปจนกระทั่งถึงกระบวนการผลิตและแปรรูป อีกหนึ่งกิจกรรมที่ถือเป็น Interactive Learning ก็คือกิจกรรมไอศกรีมเวิร์กชอปที่นักท่องเที่ยวสามารถคัดสรรวัตถุดิบ และลงมือปรุงแต่งไอศกรีมได้ด้วยตัวเอง จึงทำให้นักท่องเที่ยวได้ทราบถึงที่มาที่ไปของแหล่งวัตถุดิบ ขั้นตอนการผลิต การคัดสรรวัตถุดิบ การลงมือผลิตและการเติมแต่งรสชาติ นับเป็นการสร้างความผูกพันกับแบรนด์โดยผ่านประสบการณ์การท่องเที่ยวได้อย่างลงตัว ส่วนข้อมูลจากการทำกิจกรรมของลูกค้าจะถูกนำมาใช้เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของเราต่อไป เพื่อพัฒนาสินค้าให้เป็นสินค้า ที่ผู้บริโภคต้องการได้อย่างแท้จริง

กลยุทธ์ Umm!..MilK
สร้างแบรนด์เรียกขานสินค้าให้น่าสนใจ เพื่อเชิญชวนให้คนอยากพูดถึง บอกต่อ และสร้างการจดจำ
สร้างความเข้าใจให้แก่ลูกค้าว่า ปัจจุบันฟาร์มโชคชัยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้นกับนมสดตราฟาร์มโชคชัย และกลุ่มบริษัทฟาร์มโชคชัยมีผลิตภัณฑ์นมเพียงแบรนด์เดียวเท่านั้น นั่นคือ “Umm!..Milk” สร้างประสบการณ์ความผูกพันกับแบรนด์สินค้า เป็นสินค้าที่มีเรื่องเล่า ลูกค้ารับรู้กระบวนการผลิต ผ่านการท่องเที่ยว และทำกิจกรรมไอศกรีมเวิร์กชอป ซึ่งข้อมูลจากการทำกิจกรรมของลูกค้าจะถูก นำมาใช้เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อไป สร้างความแตกต่างให้แก่สินค้า โดยอ้างอิงถึงระยะทางระหว่างโรงรีดนม ถึงโรงงานผลิตและแปรรูป ผลิตภัณฑ์นมที่ห่างกันเพียง 50 เมตร จึงทำให้ยังคงความสดและคงคุณค่าทางโภชนาการได้มากกว่า ผลิตภัณฑ์นมจากแบรนด์อื่น
มีการประชาสัมพันธ์ถึงจุดจำหน่ายผ่านการเข้ามาท่องเที่ยวของลูกค้า Limited Edition Marketing หรือ การทำการตลาดภายใต้แนวคิด “ของดี มีจำนวนจำกัด” ตอบโจทย์ความรู้สึกของลูกค้าภายใต้แนวคิด “สดเหมือนอยู่ในฟาร์มโชคชัย”

ค้าปลีก
ดำเนินการโดย บริษัทโชคชัยแรนช์รีสอร์ท จำกัด ประกอบธุรกิจจำหน่ายสินค้าของฝาก ของที่ระลึกต่างๆ ให้แก่ลูกค้า ที่แวะเวียนเข้ามาท่องเที่ยวภายในฟาร์ม รวมถึงลูกค้าที่สัญจรผ่านไปมา ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่มีจำหน่าย ได้แก่ สินค้าประเภทเครื่องแต่งกายคาวบอย แก้วน้ำ ตุ๊กตา พวงกุญแจ ผ้าเช็ดหน้า รวมถึงผลิตภัณฑ์อาหารแปรรรูปต่างๆ เป็นต้น และบริษัทโชคชัยฟาร์มโปรดิวซ์ จำกัด ทำหน้าที่ในการบริหารร้านค้าปลีกของผลิตภัณฑ์นมตรา Umm!..Milk ทั้งนี้เพราะการเรียกร้องจากนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเยี่ยมชมฟาร์มที่มีความต้องการบริโภคผลิตภัณฑ์นี้เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้ในปัจจุบันร้าน Umm!..Milk ได้ขยายสาขาไปยังห้างสรรพสินค้าชั้นนำต่างๆหลายแห่ง ได้แก่

1. สาขาประสานมิตร สุขุมวิท ซอย 23
2. สาขาสีลมคอมเพล็กซ์ ชั้น B
3. สาขาวิลล่า เจ อเวนิว ชั้น 1
4. สาขาท๊อปส์ มาร์เก็ต เพลสทองหล่อ
5. สาขาเซ็นทรัลเวิลด์ ชั้น 7
6. สาขาดิเอ็มโพเรี่ยม ชั้น 5
7. สาขาเซ็นทรัลพระราม 3 ชั้น G
8. สาขาเซ็นทรัลลาดพร้าว ชั้น B
9. สาขาคาร์ฟูร์พระราม 4 ชั้น 1
10. สาขาเซ็นทรัลชิดลม โซนฟู๊ดฮอลล์ 11. สาขาเซ็นทรัลบางนา ชั้น G
12. สาขาแฟชั่นไอส์แลนด์ ชัน G
13. สาขาเซ็นทรัลปิ่นเกล้า ชั้น 5
14. สาขาเซ็นทรัลพระราม 2 ชั้น G
15. สาขาเดอะมอลล์บางกะปิ ชั้น G
16. สาขาเดอะมอลล์บางแค ชั้น 1
17. สาขาเซ็นทรัลแจ้งวัฒนะ ชั้น B

กลยุทธ์ธุรกิจค้าปลีก
“ซาบซึ้งประทับใจ เหมือนยกมาตรฐานการบริการของฟาร์มโชคชัยมาไว้ในใจคุณ”
สร้างการรับรู้ของลูกค้า ให้รู้สึกได้ถึงการเป็นร้านค้าที่มีมาตรฐานและมีการจัดการที่เหนือกว่าร้านแฟรนไชส์ ที่มาจากต่างประเทศสร้างบุคลากรที่มีทักษะในการขายและการให้บริการที่เกินความคาดหมาย และต้องมีความรู้ในข้อมูลพื้นฐานต่างๆ ของกลุ่มบริษัท

ภัตตาคาร
ดำเนินการโดย บริษัทโชคชัยฟู้ดแอนด์เรสโทรองท์ จำกัด ดำเนินการภายใต้ชื่อ
1. โชคชัยสเต็คเฮ้าส์
2. โชคชัยไพร์มสเต็คเฮ้าส์
3. โชคชัยสเต็คเบอร์เกอร์
4. โชคชัยสเต็คฮัท

เป็นธุรกิจภัตตาคารในสไตล์ตะวันตก ที่มีประสบการณ์ทางด้านธุรกิจภัตตาคารมานานกว่า 30 ปี ด้วยความชำนาญในการคัดสรรแหล่งวัตถุดิบที่มีคุณภาพ ผนวกกับความมุ่งมั่นในการพัฒนาคุณภาพสินค้า จึงทำให้สินค้ามีคุณภาพและมีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนเป็นผู้นำในกลุ่มอาหารประเภทสเต๊ก และโชคชัยสเต็คเฮ้าส์ คือชื่อที่ลูกค้าผูกพันและจดจำได้ทุกครั้งที่นึกถึงสเต๊ก

ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
ดำเนินการโดย บริษัทโชคชัยอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ประกอบธุรกิจด้านการบริหารสินทรัพย์ประเภทอสังหาริมทรัพย์ของกลุ่มบริษัทฟาร์มโชคชัย และดำเนินการก่อสร้างโรงงานเพื่อให้เช่าสถานที่

กลยุทธ์ของฟาร์มโชคชัย
ฟาร์มโชคชัยนั้นก่อกำเนิดขึ้นจากการริเริ่มของคุณโชคชัย บูลกุล ซึ่งครั้งหนึ่งคุณโชคชัยเคยเป็นเจ้าของตึกที่ได้ชื่อว่าสูงที่สุดของเมืองไทยนั่นก็คือตึกโชคชัย บนถนนสุขุมวิท ฟาร์มโชคชัยนั้นถือกำเนิดขึ้นในราวปี พ.ศ. 2500 ดำเนินธุรกิจปศุสัตว์และกสิกรรม เริ่มต้นจากที่ดินผืนย่อมๆ ขนาด 250 ไร่เมื่อ 50 ปีที่แล้ว สินค้าที่ขึ้นชื่อเป็นที่รู้จักกันดีคือสเต็กเนื้อโคจากฟาร์มโชคชัย จนรู้จักกันดีในยุคนั้นว่าหากต้องการทานเนื้อที่ดีต้องเลือกทานเนื้อที่มาจากฟาร์มโชคชัย

ธุรกิจของฟาร์มโชคชัยนั้นขยายตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ต่อมาในช่วงหลังฟาร์มแห่งนี้เริ่มที่จะหันมาเลี้ยงโคนมมากขึ้น และก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์สร้างรายได้อีกชนิดที่มีชื่อเสียงขึ้นมานั่นคือ นมสดตราฟาร์มโชคชัย จวบจนกระทั่งในช่วงเศรษฐกิจฟองสบู่แตกในปี 2534 ฟาร์มแห่งนี้ได้เริ่มเผชิญกับวิกฤตคือมีหนี้ร่วม 500 ล้านบาท หนทางที่จะกอบกู้นั้นดูมืดมน จนกระทั่งคุณโชค ทายาทของคุณโชคชัย ในวัยเพียง 25 ปีเพิ่งจบการศึกษากลับมาจากประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เข้ามาช่วยกอบกู้วิกฤติการณ์ของธุรกิจครอบครัว สิ่งที่คุณโชคต้องทำหลังจากรับรู้สถานการณ์และภาพรวมที่ย่ำแย่ของบริษัทในอับดับแรกๆ ก็คือการลดหนี้ หยุดดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นจนทำให้บริษัทขาดเงินทุนหมุนเวียน ในขณะเดียวกันก็ต้องสร้างการยอมรับนับถือให้ได้ในกลุ่มผู้เลี้ยงปศุสัตว์และผู้ใต้บังคับบัญชา
เพื่อที่จะประคองตัวให้อยู่รอด ธุรกิจหลักทำรายได้อย่างมั่นคงให้กับฟาร์มแห่งนี้คือนมสดตราฟาร์มโชคชัย ถึงแม้จะมั่นคงแต่เพื่อช่วยส่วนรวมให้อยู่รอด นมสดตราฟาร์มโชคชัยจึงต้องถูกขายออกไปเปลี่ยนมือไปเป็นของคนอื่น สินทรัพย์หลายอย่างต้องถูกทยอยนำมาปรับเปลี่ยนเป็นทุนเพื่อใช้ในการดำเนินการ จนสามารถทำให้ฟาร์มแห่งนี้อยู่รอดมาได้ และเติบใหญ่จนพื้นที่ฟาร์มมีขนาดที่ขยายขึ้นจาก 250 ไร่กลายมาเป็นร่วม 20,000 ไร่ในปัจจุบัน
เมื่อสภาวการณ์เริ่มเข้าสู่ความสงบ แทนที่คุณโชคจะหันไปเริ่มดำเนินกิจการเดิมที่เคยเป็นอยู่ ภาพคิดของคุณโชคนั้นกลับมองข้ามผ่านเลยการแข่งขันในธุรกิจอาหารและธุรกิจปศุสัตว์กสิกรรมไป คุณโชคเริ่มมองหาน่านน้ำสีครามที่ไม่รู้ว่าจะมีอยู่แต่เพียงในภาพนึกคิดของตนเองหรือจะมีอยู่จริงในโลกใบนี้ ธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ (Agro Tour) เริ่มกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มธุรกิจในฟาร์มโชคชัย ซึ่งแนวคิดดังกล่าวเหมือนกับที่แนวคิดที่ คิมและโมบอร์ค ได้อธิบายไว้ในหนังสือว่า ลูกค้าของน่านน้ำสีครามนั้นไม่ใช่ลูกค้าที่เดิมที่เรามีอยู่หรือลูกค้าของคู่แข่งที่ใช้ผลิตภัณฑ์แบบเดียวกับที่เราผลิต แต่ลูกค้าในน่านน้ำสีครามนั้นเป็นกลุ่มลูกค้าที่ไม่ใช่ลูกค้าของเราหรือของคู่แข่งเราที่มีมาแต่เดิม ซึ่งนั่นแทบจะเรียกว่าผู้ซื้อในกลุ่มนี้ ถึงแม้จะยื่นข้อเสนอใดออกไป คนกลุ่มนี้ก็ไม่ใช้สินค้าของทั้งเราและของคู่แข่งอยู่ดี หากจะอธิบายให้เป็นรูปธรรมก็เปรียบได้ว่า มีคนกลุ่มหนึ่งที่ไม่บริโภคเนื้อวัวหรือเนื้อโคอยู่แล้ว ต่อให้ลดราคา หรือแถมให้อย่างไรเสีย คนกลุ่มนี้ก็ไม่ยอมจ่ายเพราะสินค้าเป็นสิ่งที่พวกเขาไม่ต้องการใช้หรือต้องการบริโภค

การสร้างขอบเขตใหม่ในน่านน้ำสีครามก็คือการที่จะทำอย่างไรให้คนกลุ่มนี้กลายมาเป็นลูกค้าของธุรกิจของฟาร์มโชคชัยให้ได้ถึงแม้พวกเขาจะไม่บริโภคเนื้อก็ตาม น่านน้ำสีครามที่ทำให้เกิดความลงตัวในการสร้างธุรกิจของฟาร์มแห่งนี้ก็คือ “การจัดทำธุรกิจเกษตรเชิงนิเวศน์” คือจัดฟาร์มให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว และเปิดให้ผู้ที่สนใจเข้าชม นอกจากนี้สถานที่ท่องเที่ยวใหม่ของฟาร์มโชคชัยแห่งนี้ยังแฝงไปด้วยกลเม็ด เทคนิคต่างๆ ที่ถูกสร้างขึ้นอย่างดึงดูดใจให้ลูกค้าผู้มาใช้บริการเกิดประสบการณ์ของการท่องเที่ยวอย่างสนุกและมีความสุข ไม่ว่าจะเป็นสวนสัตว์ขนาดย่อม การแสดงของสัตว์ประเภทต่างๆ เช่นการแสดงของสุนัข หรือการแสดงการผสมพันธุ์ของพ่อโค การแสดงบนหลังม้าของเหล่าโคบาล การให้ผู้เข้ามาชมได้ร่วมขี่ม้า หรือแม้กระทั่งเปิดโอกาสให้ผู้เข้าชมได้มีประสบการณ์การรีดนมวัวจากเต้า ซึ่งก็ถือได้ว่าเป็นประสบการณ์การท่องเที่ยวที่ดูแปลกใหม่และยังไม่มีใครคิดทำในสเกลเชิงพาณิชย์ในลักษณะนี้ขึ้นมาก่อน เมื่อแนวคิดนี้ได้ถูกขยายและนำมาใช้เชิงพาณิชย์อย่างเป็นรูปธรรม ความพึงพอใจ การเติบโต และกำไรก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นตามมา

น่านน้ำสีครามที่เกิดขึ้นจากธุรกิจการเกษตรเชิงนิเวศน์ก็คือ ผู้ที่ไม่ได้บริโภคเนื้อหรือไม่คิดจะบริโภค กลายมาเป็นผู้ซื้อสินค้าจากฟาร์มโชคชัย ผู้ที่ไม่เคยคิดว่าจะจ่ายเงินให้กับธุรกิจปศุสัตว์โคเนื้อและโคนมกลับกลายมาเป็นลูกค้า และในบางคนที่ไม่ทานเนื้อกลับกลายเป็นเซล์แมนให้กับฟาร์มอย่างไม่รู้ตัว นั่นคือเมื่อเข้าเยี่ยมชม และท่องเที่ยวในฟาร์มแห่งนี้แล้วรู้สึกประทับใจก็กลับไปชวนเพื่อนพ้องพี่น้องมาเที่ยวด้วยกันอีก หรือหากไม่มาด้วยตัวเองก็บอกต่อให้เพื่อนฝูง พี่น้อง รับทราบถึงประสบการณ์ความสนุกสนานที่ตนเองได้รับ ทำให้พวกเขากลายมาเป็นลูกค้าของฟาร์มโชคชัยเหมือนดังที่ คิม และ โมบอร์ค ได้กล่าวไว้ว่า เราต้องยอมรับอยู่ประการหนึ่งว่า ไม่มีใครเป็นเจ้าของน่านน้ำสีครามได้ตลอดกาล และไม่มีบริษัทใดที่มีความเป็นเลิศอยู่ได้ตลอดเวลา มีขึ้นก็ต้องมีลง มีความรุ่งเรืองก็ต้องยอมรับว่าจะมีความเสื่อมถอยคอยอยู่ น่านน้ำสีครามของคุณโชคนั้นเองก็ไม่พ้นจากวัฏจักรขึ้นลงตามกาลเวลาดังกล่าว เพราะปัจจุบันเกิดธุรกิจการเกษตรเชิงนิเวศน์ที่เปิดตัวมาแข่งขันกับฟาร์มโชคชัยอยู่ตอดเวลาทั้งที่อยู่พื้นที่รอบข้าง และในจังหวัดอื่นๆ

นวัตกรรมเชิงคุณค่า (Value Innovation) ที่ซึ่งเคยเป็นหัวใจสำคัญของการคิดกลยุทธ์แบบน่านน้ำสีครามที่ทำให้ฟาร์มแห่งนี้ดูโดดเด่นมีมนต์ขลัง เริ่มที่จะถูกบั่นทอนลงจากคู่แข่งที่เริ่มเข้ามาในน่านน้ำสีครามแห่งนี้เพิ่มมากขึ้น สิ่งที่คุณโชคตระหนักและค้นหาคุณค่าเชิงนวัตกรรมอย่างใหม่ก็คือ ฟาร์มโชคชัยต้องเริ่มก้าวหนีคู่แข่งขันและก้าวเข้าสู่น่านน้ำสีครามแห่งใหม่ สิ่งที่ได้เริ่มทำก็คือการเริ่มขยายธุรกิจของกลุ่มเข้าสู่ธุรกิจที่พักอาศัยและสัมนา ซึ่งเราจะเห็นสิ่งนี้เป็นรูปธรรมชัดขึ้นจากการกำเนิดของ “ฟาร์มโชคชัยบูติคแคมป์ปิ้งและสัมนาแพ็คเกจ” (Farm Chokchai Boutique Camping & Seminar Package) ที่เริ่มต้นขึ้นในปี 2548

สิ่งที่คุณโชคเคยให้สัมภาษณ์ไว้ในหลายวาระก็คือ “ผมเป็นคนคิดแบบผู้ใหญ่แต่ทำแบบเด็ก” นั้นก็น่าจะตรงกับแนวคิดของคิมและ โมบอร์คที่ว่า ตรรกะการคิดเพื่อจะเข้าสู่น่านน้ำสีครามคือการคิดที่หลุดพ้นจากอุโมงค์แคบๆ ของการคิดอย่างทั่วไป การขยายขอบเขตของน่านน้ำสีครามให้กว้างไกลออกไปได้นั้น กระบวนการคิดอาจจะต้องกลับด้าน ซึ่งโชคชัยบูติคแคมป์ปิ้งและสัมนาแพ็คเกจ ก็เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ตัวหนึ่งของฟาร์มโชคชัยที่เกิดขึ้นจากการคิดแบบผู้ใหญ่แต่ทำแบบเด็กนั่นเอง สิ่งที่เหมือนกันอีกประการระหว่างการดำเนินกลยุทธ์ของฟาร์มโชคชัยกับกลยุทธ์น่านน้ำสีครามก็คือ การการเติบโตของกลุ่มธุรกิจฟาร์มโชคชัยนั้นไม่ได้ใช้ตัวชี้วัดที่มาจากดัชนีอุตสาหกรรมเกษตรหรือปศุสัตว์ แต่การเติบโตของกลุ่มธุรกิจฟาร์มโชคชัยนั้นมาจากการขับเคลื่อนของกลยุทธ์ (Strategic Move) ที่เกิดขึ้นจากการขับเคลื่อนจากภายในองค์กรเสียมากกว่า ซึ่งโดยหลักนั้นมาจากการบริหาร กระบวนวิสัยทัศน์ และการตัดสินใจของคุณโชค ผ่านลงสู่การปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ผู้ทำงาน ทำให้การขับเคลื่อนเชิงกลยุทธ์เกิดผลสัมฤทธิ์ ซึ่งต่อมาเปลี่ยนไปเป็นความพึงพอใจ การเติบโตของธุรกิจ และผลกำไรที่มีให้กับองค์กร

1.3 ผลงาน
วิสัยทัศน์ ( Vision )
มุ่งมั่นสู่ปณิธาน “องค์กรจากดิน…สู่ภูมิปัญญา”
เราจะก้าวสู่ความเป็นเลิศขององค์กรไทยหัวใจเกษตร ที่พร้อมเป็นแบบอย่างแห่งการพัฒนาธุรกิจให้มีมูลค่าเพิ่มอย่างต่อเนื่อง สร้างสรรค์จุดแข็งของกิจการหลักให้ลือเลื่อง และอยู่ร่วมสมัย เป็นต้นแบบในการสร้าง “คน” ที่มีคุณค่าแก่สังคมไทย และพร้อมก้าวต่อไปอย่างมั่นคงและยั่งยืน
พันธกิจ (Mission)
พัฒนาฟาร์มโคนมให้มีระบบการจัดการที่ดี และมีความทันสมัย โดยต้องมีการพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนธุรกิจ ให้ยืนหยัดได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน
พัฒนาสายพันธุ์โคนมให้ทนทานต่อสภาพแวดล้อม มีศักยภาพในการให้ปริมาณผลผลิตและคุณภาพของ น้ำนมดิบ ที่เหนือกว่ามาตรฐานของประเทศ
ผลิตและสร้างสรรค์สินค้าและบริการที่มีคุณค่า สาระ และแรงบันดาลใจด้วยมาตรฐานที่เกินความ คาดหมายของลูกค้า
สร้างความผูกพันให้แก่สินค้าและบริการ ด้วยประสบการณ์ที่ลูกค้าสัมผัสได้ เปลี่ยนความรู้ให้เป็นทุน มีจิตสำนึกในการรับผิดชอบ ตอบแทนสังคมด้วยการพัฒนาธุรกิจบนหลัก บรรษัทบริบาล
ผลงานที่ประสบความสำเร็จ
1. สามารถบริหารธุรกิจฟามร์มโคนมจากผลการดำเนินงานที่ขาดทุน ทำให้ผลการดำเนินงานมีกำไร
2. เป็นผู้คิดค้นนำฟาร์มโคนมทำเป็นสถานที่ท่องเที่ยว
3. เป็นผู้บริหารฟาร์มโคนมที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (เนื้อที่ 20,000ไร่ วัว 5,000 ตัว)
4. บุกเบิกการส่งออกแม่พันธุ์โคนม จากเดิมที่ประเทศแถบเอเชียต้องสั่งวัวเข้ามาจากออสเตรเลีย แต่ในปัจจุบัน ประเทศในแถบเอเชียต้องนำเข้าแม่พันธ์โคนมจากฟาร์มโชคชัย
5. ใช้หลักการบริหารงานแบบใหม่ คือ จะต้องเป็นคนที่เท้าติดดิน ต้องถ่อมตน ไม่ประเมินตัวเองผิด อย่าหลงกับสถานการณ์ ถ้าทะเยอทะยานเกินไปจะพลาดได้ และต้องเข้าใจสถานการณ์ต่างๆ ตามความเป็นจริง คนรุ่นใหม่บางคนอาจจะอยู่ในโลกที่คิดว่าตัวเองเก่งเกินไป ทำให้ประเมินสถานการณ์ผิด การที่จะเป็นนักธุรกิจที่ดีต้องไม่ประมาทและวิเคราะห์สถานการณ์โลกได้ดีและแม่นยำว่าเป็นอย่างไร

“โชค บูลกุล” ไม่ได้มาเพราะโชคช่วย
ชีวิตของ “โชค บูลกุล” พูดได้ว่าเป็นที่ชื่นชมของหลายคน เขามีครอบครัวที่อบอุ่น มีลูกที่กำลังน่ารัก ประสบความสำเร็จกับงานบริหารฟาร์มโคนม “โชคชัย” กิจการสานต่อมาจากรุ่นพ่อและนำมาปั้นเติมเสริมแต่งจนยืนอยู่ได้อย่างมั่นคง เช่นเดียวกับบทบาททางสังคมอื่นๆ ที่ได้รับการยอมรับเป็นอย่างดี

ปัจจุบันคนอาจจะรู้จัก โชค บูลกุล ในฐานะกรรมการผู้จัดการ กลุ่มบริษัท ฟาร์มโชคชัย ฟาร์มโคนมขนาดใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กินเนื้อที่กว่า 20,000 ไร่ และนอกจากการเป็นวิทยากรถ่ายทอดประสบการณ์ให้กับนิสิตในรั้วมหาวิทยาลัยแล้ว ยังเคยได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาให้กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และเคยเป็นคณะกรรมการส่งเสริมธุรกิจขนาดกลางและย่อม (SMEs) รวมถึงเป็นคณะกรรมการประสานงานและติดตามผลการดำเนินงานในกรอบเขตการค้าเสรี (FTA) อีกด้วย
การออกมาทำงานเพื่อสังคมในลักษณะนี้ ถือเป็นการสร้างความสุขทางจิตใจให้กับตัวเขาทางหนึ่ง และยังช่วยให้โชคมีโอกาสได้ทบทวนและเรียบเรียงสิ่งที่ตัวเองปฏิบัติมาทั้งหมด กลั่นกรองประสบการณ์ออกมาเป็นคำพูด เป็นคำแนะนำที่ให้ประโยชน์กับผู้อื่น

“ไม่คิดว่าเราเป็นผู้รู้ แต่เมื่อสังคมอยากให้ช่วยก็ยินดี ผมอยากช่วยเหลือส่วนรวมบ้างในฐานะที่ทำธุรกิจมาจนมีความมั่นคงในระดับหนึ่ง ขณะเดียวกันผมได้สิ่งตอบแทนจากจุดนี้ คือ เปิดสังคมของตัวเองให้กว้างขึ้น มีมุมมองใหม่และเพื่อนใหม่ ซึ่งผมว่าเป็น win – win”

จากการพูดคุยกับโชค เขาเป็นผู้ชายคนหนึ่งที่มีมุมมองต่อคำว่า Wonderful Time อย่างน่าสนใจ และจากความคิดดังกล่าวทำให้การใช้ชีวิตของเขาในทุกวันนี้เต็มไปด้วยช่วงเวลาที่เต็มไปด้วยความสุขอย่างไม่ต้องสงสัย
จากโจทย์ชีวิตที่โชคตั้งไว้ คือ การสร้างความสามารถให้กับตัวเอง เขาบอกว่านั่นจะเป็นหนทางไปสู่ความสุข หมายถึงหากคุณค้นพบความสามารถและลงมือปฏิบัติให้เกิดผลโดยไม่เบียดเบียนคนอื่น ผลที่ได้กลับมาหนีไม่พ้นความภาคภูมิใจ ไม่ว่าจะภูมิใจที่ทำให้บริษัทเติบโต ภูมิใจที่สามารถเลี้ยงครอบครัวเลี้ยงพนักงานได้ หรือแม้แต่ภูมิใจที่ได้ทำงานเพื่อสังคม ซึ่งสุดท้ายแล้วสะท้อนกลับมาเป็นความสุขให้กับตัวเอง “ผมชอบลงมือทำจริง ไม่เคยอ่านหนังสือหลักการหรือเข้าคอร์สอบรม เพราะผมเชื่อว่าคนเราต้องทำได้ เพียงแต่ต้องรู้จักขวนขวาย ต้องค้นหาว่าเรามีความสามารถด้านใดและลงมือ บวกกับสติปัญญาที่มีจะทำให้เราทำได้ตามเป้าหมาย” นี่คือหลักการทำงานของโชคที่สะท้อนผ่านความสำเร็จในธุรกิจ เพราะกลุ่มฟาร์มโชคชัยในวันนี้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางทั้งในธุรกิจฟาร์มโคนม การวิจัยและพัฒนาแม่พันธุ์โคนมเพื่อส่งออก อุตสาหกรรมอาหารโคนม และการบริหารแบรนด์ Umm!…Milk (อืมม!…มิลค์) ธุรกิจที่ปรึกษาด้านวางแผนธุรกิจโดยนำความรู้เชิงบริหารที่มีอยู่มาสร้างมูลค่าเพิ่ม รวมถึงธุรกิจท่องเที่ยวเชิงเกษตรและที่พักผ่อน ส่งผลให้ปีที่ผ่านมาเฉพาะตัวเลขกำไรของกลุ่มเติบโตขึ้นถึง 46 % เป็นอัตราขยายตัวที่ไม่ธรรมดาและไม่เคยปรากฏมาก่อนสำหรับบริษัทของเขา “คนส่วนใหญ่บริหารแบบถมเงิน คือ ลงทุนเพิ่มแล้วเติบโต ซึ่งผมว่าก็ได้แต่รายได้เพิ่ม แต่สำหรับกลุ่มฟาร์มโชคชัย เราเน้นซอฟแวร์ของธุรกิจ คือ บุคลากร เราสร้างความภาคภูมิใจให้กับคน เราสร้างความตระหนักว่าคุณเป็นส่วนหนึ่งของบริษัท ความรู้ความเข้าใจในธุรกิจมากขึ้น ดังนั้นต้นทุนจึงลดขณะที่ขีดความสามารถในการทำกำไรก็เพิ่มขึ้น”

อย่างไรก็ตาม โชคปฏิเสธว่าชีวิตในวันนี้ยังไม่เรียกว่าประสบความสำเร็จ เพราะวันสุดท้ายที่เขาจะประเมินผลงานของตัวเอง คือ วันที่เขาได้วางมือจากธุรกิจนี้ไปแล้ว

“ผมมองความสำเร็จง่ายๆ คือ เปรียบเทียบวันแรกกับวันสุดท้าย หากมันมีอะไรที่เพิ่มมากขึ้นก็คือประสบความสำเร็จ แต่ตราบใดก็ตามที่ทำงานอยู่ผมจะไม่เรียกว่าประสบความสำเร็จ เพราะผมยังมีโอกาสพลาด พรุ่งนี้ก็พลาดได้ ปีหน้าธุรกิจอาจจะไม่ดีก็ได้”

สิ่งนี้ส่งผลให้เขาใช้หลักการทำงานบนความไม่ประมาท และไม่ประเมินสถานการณ์ต่ำกว่าความเป็นจริง ซึ่งโชคบอกว่าในบางครั้งหากมีคนชื่นชมสิ่งที่เขาเก็บไว้คือการสร้างกำลังใจในการทำงาน แต่จะไม่ประมาทว่าเขาเก่ง หรือสามารถทำอะไรได้โดยไม่พลาดเลย และประโยคหนึ่งที่เขาใช้อยู่เป็นประจำ คือ Win Small But Win Often เป็นการสร้างความสำเร็จวันละนิดละหน่อย แต่ถ้านำทุกวันมาต่อกันจะกลายเป็นความสำเร็จและความภูมิใจที่ยิ่งใหญ่มาก ซึ่งนี่คือ Wonderful Time ในสไตล์ของตัวเองและทำให้เขาได้รู้สึกถึงคำว่าพอเพียงอย่างแท้จริง และหากถามว่า ชีวิตของเขาตอนนี้ยังต้องการสิ่งใดบ้าง โชคบอกว่าในด้านการทำธุรกิจนั้น เขาไม่ใช่คนที่วางโปรเจกท์แบบยิ่งใหญ่ แต่น่าจะเรียกว่าประคับประคองให้ธุรกิจมีความแข็งแกร่งมากกว่า เพราะเขามองว่าการจะใช้เงินลงทุนนั้นเป็นเรื่องง่ายแต่การจะทำให้ไปรอดนั้นยากยิ่งกว่า

สำหรับชีวิตส่วนตัว สิ่งที่เขาคาดหวังในขณะนี้มีเพียงอยากให้ครอบครัว “ปลอดภัย” หมายถึงมีความสุขทั้งกายและใจ สำหรับลูกเขาอยากให้เติบโตในสิ่งแวดล้อมที่ดี ไม่เสียอนาคต ส่วนที่เหลือไม่ได้คาดหวังใดๆ ทั้งสิ้น

“ผมเชื่อว่าถ้าพ่อแม่ทำตัวดีจะส่งผลไปสู่ลูกด้วย คือ สอนด้วยการเป็นแบบอย่าง ซึ่งผมและภรรยาทุกวันนี้ทำอย่างนั้นอยู่ ผมไม่คาดหวังว่าวันหนึ่งเขาต้องมาสืบทอดกิจการเพราะนั่นไม่ใช่เรื่องใหญ่ เพราะหากเราได้ให้สติปัญญากับเขาไปแล้ว คนเราต้องดิ้นรนอยู่ได้ด้วยตัวเอง”

ปัจจุบัน ด้วยบทบาทหน้าที่ที่หลากหลาย เขาพยายามแบ่งเวลาการทำงานเป็น 3 ส่วนหลักๆ นั่นคือ อยู่กับงานเสีย 65% อีก 34% แบ่งให้ครอบครัว ส่วนอีก 1% ที่เหลือเป็นเวลาที่จะให้กับตัวเอง ทั้งการพักผ่อน ทำกิจกรรมที่ชื่นชอบ ซึ่งเขายอมรับว่าการเป็นซีอีโอขององค์กรไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะจะต้องรับผิดชอบความเป็นอยู่ของพนักงานหรือสถานะภาพของธุรกิจทั้งหมด ฉะนั้นในช่วงนี้จึงยังเป็นช่วงที่เขาต้องให้เวลากับงานเป็นหลัก

“ชีวิตผมตอนนี้มันธรรมดามาก ผมทำงานเสร็จก็กลับบ้าน ทานข้าวอาบน้ำเสร็จก็จะเล่นกับลูกซึ่งติดพ่อมากในระยะหลัง ต้องเอาเข้านอนเองทุกคืน หลังจากนั้นก็ติดตามข่าวสารบ้านเมืองตามปกติ” โชค กล่าวพร้อมรอยยิ้ม
“นี่เป็นความสุขในสไตล์ของผมครับ”

1.4 ความสำเร็จ
1. บริหารงานทำให้มีบริษัทในเครือ ถึง 6 บริษัท มีพนักงาน 1,200 คน กระจายใน 3 กลุ่มธุรกิจหลัก และมีความมั่นคง ได้แก่
1. ธุรกิจการเกษตร
2. อสังหาริมทรัพย์
3. ธุรกิจร้านอาหาร
4. ผลิตภัณฑ์จากฟาร์มโชคชัย การเลี้ยงวัว ทั้งวัวเนื้อ วัวนม ผลิตภัณฑ์ที่เป็นผลมาจาการเลี้ยงวัว คือมีการทำผลิตภัณฑ์จากเนื้อคือสเต๊กเนื้อที่ขึ้นชื่อ ผลิตภัณฑ์จากนม 4อย่าง คือ นมสด นมเม็ด โยเกิร์ต และไอศกรีม โดยผลิตภัณฑ์นมทั้งหมดอยู่ในแบรนด์ Umm…Milk!!
5. กิจกรรมการท่องเที่ยว ทั้งการชมฟาร์ม(เรียกว่า Agrotour หรือการท่องเที่ยวเชิงเกษตร) และการพักแรม สัมมนา ซึ่ง รายได้หลักของฟาร์มโชคชัยได้จากการท่องเที่ยวมากกว่าจากกิจกรรมหลักเกี่ยวกับวัว
2. ทำ FTA กับประเทศในเอเชีย เช่น ประเทศออสเตรเลีย เพื่อส่งออกวัว และสินค้าที่เกี่ยวเนื่องของวัว ได้เป็น ผลสำเร็จ
3. ใช้นโยบายประหยัดการใช้ทรัพยากรต่างๆ ในองค์การเพื่อลดต้นทุนและสร้างกระแสลดโลกร้อนได้สำเร็จ เช่น เอกสารจากฟาร์มโชคชัยจะพิมพ์ 2 หน้าทุกแผ่น เป็นต้น
4. ทำให้มีนักท่องเทียวเข้ามาเที่ยวชมฟาร์มโชคชัย และประสบความสำเร็จมาจากการที่ผู้คนให้การยอมรับในเรื่อง ของความรู้ DF(Knowledge) ต่างๆ ที่นำมาใช้พัฒนาฟาร์ม จนกลายเป็น “แหล่งท่องเที่ยว” ซึ่งเป็นมูลค่าธุรกิจของฟาร์มโชคชัย

หลักการบริหารงานให้ประสบความสำเร็จ
ในความคิดเห็นของคุณโชค บูลกุล คิดว่าการทำธุรกิจต้องมีการแบ่งปันความรู้ และประสบการณ์ และการเป็นนักธุรกิจต้องไม่คิดว่าประสบความสำเร็จแล้ว ต้อง challenge ตัวเองอยู่ตลอดเวลา มีคำถามว่าธุรกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างที่เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้ อาจไม่ใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีต่อสังคมก็ได้ อาจมีการชี้นำ ครอบงำมากขึ้น ในการทำธุรกิจผมมองว่าจริยธรรม และ คุณธรรมเป็นสิ่งสำคัญด้วยเช่นกัน

ยึดแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาของฟาร์มโชคชัยอิงแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง โดยเริ่มจากหนึ่ง ดูที่จุดยืนของเรา ไม่ได้ดูตามกระแส ธุรกิจที่คนอื่นทำไว้แล้ว ซึ่งคนอื่นอาจมีทุน และโอกาสดีกว่าเรา และผมต้องคิดต่ออีกว่าทำอย่างไรจะสามารถสานต่อธุรกิจได้ มีคนรุ่นใหม่มารับช่วงธุรกิจต่อไปได้ สอง การทำธุรกิจผมมองว่าไม่มียุคสมัย เพียงแต่เราต้องมองดูว่าในปัจจุบันเรามีปัจจัยอะไรมากระทบบ้าง เช่นคู่ค้า จุดตั้งธุรกิจ เป็นต้น และสาม ทำธุรกิจต่อยอด โดยเน้นการสร้างความแตกต่าง ในการทำธุรกิจหากตอบปัจจัยเหล่านี้ไม่ชัดเจน จะเป็นจุดอ่อนของเรา
ในความคิดเห็นของผม มองว่าธุรกิจเป็นเรื่องไหวพริบล้วนๆ ประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งหมายถึงการที่จะต้องประเมิน หรือวิเคราะห์ความเสี่ยง การสื่อสารภายในองค์กร กระบวนการนำพาพนักงานให้เห็นถึง coreขององค์กรเป็นต้น และใช้ความรู้ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์
ธุรกิจฟาร์มโชคชัยใช้ประสบการณ์ 14-15 ปี เพื่อสร้างฐานการเติบโตอย่างยั่งยืน ในช่วงเริ่มต้นอาจจะไม่มีกำไรในช่วง 2-3 ปีแรก

เริ่มต้นที่ความแตกต่าง
ผมเริ่มต้นที่การมองว่าเรามีอะไร เรามีความแตกต่างอย่างไร และต้องเป็นสิ่งที่ copy ได้ช้า นี่คือความได้เปรียบ ในส่วนของฟาร์มโชคชัยเรามีระบบระบียบที่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งเป็นcontent ที่คนรุ่นใหม่ต้องการ ระบบระเบียบที่เกิดขึ้นในฟาร์มไม่ได้เกิดขึ้นจากการแสวงหากำไรอย่างเดียว หรือการ copy อย่างเดียว แต่เกิดจากประสบการณ์สั่งสม จากทักษะของเกษตรกรมืออาชีพ
การสร้างความภาคภูมิใจก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งซึ่งจะเป็นการสร้างประสิทธิภาพให้กับบุคลากร ทำอย่างไรให้เขาศรัทธาองค์กร ซึ่งจะทำให้ turnover rate น้อย
ฟาร์มโชคชัยมีโครงสร้างองค์กรที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา เพื่อ motivation การทำงาน และในการ recruit คนจะพยายามหาคนที่ศรัทธาในองค์กรของเรา ซึ่งก็ได้พิสูจน์แล้วว่าเราสามารถผ่านวิกฤตมาได้เพราะพนักงานมีศรัทธาในองค์กร

วิกฤตพิสูจน์ฝีมือ
ฟาร์มโชคชัยเคยประสบปัญหาหนี้สิน ทำอย่างไรจะลดภาระหนี้สิน เราตัดสินใจขาย asset ที่มีอยู่ คือนมสดฟาร์มโชคชัย ตอนนั้นได้เงินมา 300-400 ล้าน ซึ่งนั่นก็คือมูลค่าของ brand โชคชัย คือความเชื่อมั่นที่มีต่อประสบการณ์ของเรา
แต่เดิมฟาร์มมีความเสี่ยงน้อย เรามีโค 2,000 ตัวผลิตนมได้ 30 ตันต่อวัน ผลผลิตนี้เราส่งผลิตเป็นนมฟาร์มโชคชัยออกมา แต่พอเราขายนมสดฟาร์โชคชัย เราเสี่ยงทันที ซึ่งยากมากๆที่จะทำให้ธุรกิจต้นน้ำให้อยู่รอด ทั้งๆที่ตอนที่อยู่รวมกันก็ยังแย่ ตอนนี้ละคิดหนัก!
ทางเลือกในตอนนั้นเราคิดกันว่าจะขายทั้งหมด แต่ผมเลือกที่จะรักษาธุรกิจของครอบครัวให้สืบทอดไปสู่อีก generation ให้ได้ ผมมองว่าวิกฤตนี้เป็นโอกาส ถ้าไม่มีวิกฤตอาจจะไม่ได้เห็นฝีมือของคน

เมื่อผมเลือกที่จะเดินหน้าสู้ จุดต่อไปคือทำอย่างไรไม่ให้เกิดหนี้ก้อนใหม่ หลังจากหนี้เคลียร์เรียบร้อยแล้ว ทำอย่างไรที่จะให้เจ้าของยอมรับ ทำอย่างไรจะซื้อศรัทธาโดยเร็ว และต้องลงมือพิสูจน์ด้วยการบริหารจัดการทันที

เริ่มต้นด้วยความมุ่งมั่น
เมื่อตัดสินใจจะสู้ต่อผมเริ่มต้นที่การศึกษาจิตใจของ CEO คือคุณแม่ ซึ่งเป็นนักบัญชี แต่การทำธุรกิจมีการตลาดคือต้องมี commitment กับลูกค้า ซึ่งต้องเร็ว และรอไม่ได้นี่คือวิญญานของการตลาด ซึ่งเป็นเรื่องที่อาจจะมองในเชิงความถูกต้องด้านตัวเลขไม่ได้ แต่เป็นเรื่องของการคาดเดาความรู้สึก เป็น intuition ผมจึงต้องสร้างความมั่นใจให้กับ CEO ซึ่งเป็นนักบัญชีให้มีความมั่นใจก่อน ด้วยการสร้างความมั่นคงด้านการเงิน โดยจะไม่สร้างหนี้ และไม่นำหนี้ก้อนใหม่เข้าระบบในระยะ 1-2 ปีแรก
ในช่วงนั้นจำได้ได้ว่าแม้แต่จะซื้อเครื่องคิดเลขยังต้องนำเข้าบอร์ดของบริษัท
แต่ต้องยอมรับว่าเราสร้างการเติบโตของธุรกิจของเราด้วยวิธีนี้จริงๆ และเราริเริ่มธุรกิจใหม่ๆ โดยการไม่ได้กู้ยืมเลย เราขายนมฟาร์มโชคชัย เราออม เราประหยัด และเรา turn มาทำธุรกิจใหม่ๆ ซึ่งเป็นธุรกิจที่ไม่เน้นการลงทุนมาก โดยเน้นธุรกิจที่ใช้ความริเริ่มสร้างสรรค์

จิตวิญญานของผู้นำ
หลังจากที่ขายนมสดฟาร์มโชคชัยไปแล้ว ธุรกิจฟาร์โชคชัยมี 2 ส่วน คือหนึ่ง ฟาร์ม และสอง ภัตตาคารและอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นส่วนที่ทำกำไรสูง ผมให้ผู้บริหารเดิมเป็นผู้บริหารต่อไป ผมเลือกทำธุรกิจฟาร์ม ซึ่งเป็นงานยากและหนักมาทำเอง
ผมเลือกที่จะเริ่มจากธุรกิจที่ต้นทุนสูง เหนื่อย เงินน้อยพออยู่ได้ แต่ไร้คู่แข่ง และเป็นธุรกิจที่ไม่ได้มีลักษณะเอา technology มา repackage ผมเริ่มต้นจากดิน

ปัจจุบันของฟาร์มโชคชัย
ปัจจุบันธุรกิจฟาร์มโชคชัยแบ่งเป็น 5 กลุ่ม ดังนี้
1. ฟาร์มโชคชัย
2. การวิจัยและพัฒนา
3. อาหารเสริม
4. ฟาร์มนก
5. Agro-Tourism

1. ฟาร์มโชคชัย
ฟาร์มโชคชัยเป็นฟาร์มโคนมที่มีการบริหารจัดการที่ดี และ copy ยาก ปัจจุบันเรามีโคนม 5,000 ตัว ซึ่งต้องรีดนมในตอนเช้าทุกวัน ได้นมโคสดวันละ 18 กิโลต่อตัวต่อวัน ในการรีดนมวัวก็มีขั้นตอน เป็นเรื่องยากที่ต้องมีการฝึกฝน

2. การวิจัยและพัฒนา
เราให้ความสำคัญกับงานวิจัยและพัฒนากว่า 20 ปี แล้ว สายพันธ์โคนมของ ฟาร์มโชคชัยมีการพัฒนาสายพันธ์ที่เหมาะสมกับภูมิภาคเอเชีย ตอนแรกเรานำเข้าลูกพันธ์มาพัฒนา แต่มีการแปรสภาพของพันธ์ เราจึงมีการวิจัยในเรื่องขนาดของวัว ดูการเผาผลาญ มีการวิจัยคัดเลือกสี เพื่อหาสายพันธ์ที่ ไม่ดึงความร้อน เมื่อได้สายพันธ์ที่ต้องการแล้ว ก็พัฒนาเพื่อการส่งออก ซึ่งขณะนี้เราไม่มีคู่แข่ง ขณะนี้ฟาร์มโชคชัยมีการร่วมมือด้านการวิจัยกับมหาวิทยาลัยหลายแห่ง และมีการจัดเก็บข้อมูลประสบการณ์เป็นฐานข้อมูลเพื่อการสืบค้นต่อไป

3. อาหารเสริม
โคนมต้องการอาหารเสริมที่ concentrate สารอาหารที่มีพลังงานสูง เรามีนักวิชาการของฟาร์มเองในการทำอาหารอัดเม็ด ซึ่งเป็นธุรกิจdownstream ลูกค้าหลักคือฟาร์มโชคชัย และก็หาลูกค้าอื่นต่อ ขณะนี้เราผลิตอาหารเสริมโคนมวันละ 3,500 ตัน และเป็นธุรกิจที่มี margin สูงสุด

4. ฟาร์มนก
พอธุรกิจเริ่มดีขึ้น เราจึงริเริ่มทำธุรกิจที่ใช้ทรัพยากรบุคคลของฟาร์มโชคชัย ซึ่งมีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับฟาร์มปศุสัตว์อยู่แล้ว มาทำฟาร์นก สุนัข ม้า ซึ่งคนของฟาร์มโชคชัยมีทักษะ และมีประสบการณ์อยู่แล้ว ธุรกิจฟาร์มนกนี้ถือเป็นธุรกิจแนวตั้ง ที่ใช้คนที่มีทักษะด้านปศุสัตว์ ส่วน 3 ธุรกิจแรกเป็นธุรกิจแนวนอน ซึ่งเป็นธุรกิจเกี่ยวกับโคนม ขณะนี้เรากำลังวิจัยสัตว์เศรษฐกิจต่างๆอยู่หลายชนิด

5. Agro-Tourism
เป็นธุรกิจที่ต้องการจะสร้าง brand ที่ให้ติดไปกับวัว และเป็นbrand ด้านสังคม ที่ต้องการตอบสนองกลุ่มprofessional และกลุ่มคนทั่วไปที่ต้องการหาประสบการณ์แปลกใหม่ เป็น Fun Entertainment
ในการจัดการธุรกิจAgro-Tourism เป็นเรื่องที่สลับซับซ้อน ต้องการคนที่มีความเข้าใจจึงจะสามารถบริหารจัดการให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ เพราะต้องเข้าใจ perception ของลูกค้า เช่น ภาพของโคนมของลูกค้า เป็นภาพของโคที่สะอาด เราต้องจัดการวัวในฟาร์มซึ่งจริงๆเลอะเทอะ ให้สะอาดตรงกับภาพของลูกค้าก่อนนำมาแสดงให้ลูกค้าได้ชม เราต้องdesign บรรยากาศให้ได้ เป็นexperience marketing ซึ่งทำให้คนที่มาพบเห็นบรรยากาศ พูดคุยบอกเล่าปากต่อปากต่อๆกันไป

เติมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
เรากำลังทำฟาร์มโชคชัย camping ที่เน้นการผจลภัยแบบป่า แต่มีความปลอดภัย มีความถูกสุขลักษณะ มีการบริหารจัดการที่ดี มีแอร์ มีtechnology เช่น high speed internet เป็นต้น เราเชื่อว่าธรรมชาติเป็นที่ที่ก่อให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สมาธิ และเป็นสถานที่เพื่อเติมพลัง ขณะนี้เรามีทีมจัดสัมมนาให้ด้วย มีIce cream workshop เพื่อให้ลูกค้าที่มาเที่ยวฟาร์มโชคชัยได้มีส่วนร่วมผลิตสินค้า ลุกค้าสามารถทำIce cream โดยมีผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำแนะนำ เพื่อให้ Ice cream มีรสชาติอร่อย และลูกค้ารู้สึกประทับใจ

ในการประเมินผลเราดูจากสีหน้า พฤติกรรม ของลูกค้า นอกจากนี้เราก็มีแบบฟอร์มเก็บความประทับใจที่ให้ลูกค้าเขียนด้วยลายมือ การทำcamping เป็นสิ่งที่เกิดจากการที่เราได้ปลูกป่า ซึ่งได้เริ่มปลูกมาแล้ว 15 ปี จำนวน200 ไร่ ตรงlocation ที่คิดว่าได้เปรียบที่สุด

ในความคิดเห็นของผมคิดว่าการทำธุรกิจต้องรู้จักนับ 1-2-3-4-5-6 ถ้า 6 ยังไม่ได้ก็ต้องรอ จึงจะเป็น7 และต้องไม่คิดในเชิงเปรียบเทียบ ทำตัวให้ realistic ต้องมีความฉับไว แต่รอบคอบ มีจริยธรรม คุณธรรม โปร่งใส ความโปร่งใสนี่สำคัญ เพราะจะทำให้รู้สาเหตุที่แท้จริงว่าทำไมจึงผิด

“ คิดแบบเด็ก ทำแบบผู้ใหญ่ ” แล้วจะรุ่ง

แบรนด์ของ “ฟาร์มโชคชัย” เป็นชื่อคุ้นหู และเคยชินในสายตาของคนไทยมาเป็นเวลาพอสมควร แต่ใน
เจเนอเรชั่นที่สอง ซึ่ง โชค บูลกุล กรรมการผู้จัดการบริษัท กลุ่มฟาร์มโชคชัย รับช่วงต่อจากครอบครัว ตั้งแต่ปี 2535 เขาต้องฟันฝ่าจากภาวะเศรษฐกิจที่ธุรกิจต้องแบกรับหนี้นับพันล้านบาท

ในการจัดการปัญหา โชค เล่าว่า ภาวะหนี้สินที่มีมาก ทำให้ต้องตัดสินใจเผชิญกับความจริง ซึ่งพูดง่ายๆว่า แบกไม่ไหว กระทั่งตัดใจยอมตัดสินทรัพย์ หรือธุรกิจบางตัวขายออกไป เพื่อให้ได้เงินมาก้อนหนึ่ง ผ่อนชำระหนี้สิน
เหตุผลง่ายๆที่ต้องทำเช่นนั้น …เขาไม่อยากให้เจ้าหนี้ต้องมีความกังวล นับว่าเป็นคนที่รู้จักในการจัดการบริหารหนี้ดี ตรงตามสูตร Happy Money เพื่อให้ปลดหนี้ จุดนี่เอง ทำให้เกิดความแปรผัน บวกกับสิ่งที่หนุ่มไฟแรงอย่างโชคชอบสิ่งที่ท้าทาย และเป็นคนมองโลกแง่บวก เขาถึงมีพลังและแรงบันดาลใจในการเริ่มต้นและทำสิ่งใหม่ๆ ให้ก้าวหน้าต่อไป

การเริ่มต้นรับภาระ หน้าที่การทำงานจึงเริ่มต้นจากว่า “คิดแบบเด็ก แล้วทำแบบผู้ใหญ่” จึงเกิดขึ้น ให้อธิบายความคิดดังกล่าว โชคบรรยายว่า คนเราคิดแบบผู้ใหญ่มันคงเป็นโลกที่น่าเบื่อ มองเห็นแต่หนี้สินและภาระเพราะผู้ใหญ่ความที่มีประสบการณ์มากเกิน “ความคิดสร้างสรรค์” อาจตกหล่นไปมาก หรือถ้าคิดแบบผู้ใหญ่แล้วทำแบบเด็ก คือตีกรอบตัวเองแล้วลงมือทำงาน ไม่มีระเบียบ ไม่มีวินัย ไม่มีความเป็นมืออาชีพธุรกิจก็อยู่ไม่ได้ท้ายที่สุดเป็นการสร้างภาระหนี้สิน “ผมมองในมุมกลับกัน แทนที่จะคิดแบบผู้ใหญ่แล้วทำแบบเด็ก แต่คิดแบบเด็กแล้วทำแบบผู้ใหญ่ คือคิดแบบมีจินตนาการที่ไม่ต้องไปหลอกตัวเอง เด็กมีความได้เปรียบตรงที่เขาไม่เคยมีโอกาสที่จะมีประสบการณ์ ฉะนั้นวิธีการคิดของเขาจึงเต็มไปด้วยจินตนาการ แน่นอนว่าถ้าเราคิดแบบเด็กแล้วทำแบบเด็ก มันก็ไม่ใช่เป็นสูตรที่จะนำมาซึ่งความสำเร็จ”

“แต่ผมเชื่อว่าถ้าเราคิดแบบเด็กมีจินตนาการ เวลาลงมือทำอะไรให้ทำแบบมืออาชีพ มีการบริหารงานความเสี่ยงที่ดี รู้จักทีมงาน รู้จักศักยภาพของเรา รู้จักตำแหน่งแห่งที่ของธุรกิจ จะสามารถหาทางได้เปรียบในมุมธุรกิจของเราได้ อันนี้ผมคิดว่ามันเป็นการทำแบบผู้ใหญ่เป็นมืออาชีพจริงๆ ที่จะช่วยให้มองโจทย์ทะลุมิติต่างๆ เข้าไปได้” โชค จึงให้ความสำคัญในการผสมผสานระหว่างเด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์ แต่ทำงานแบบผู้ใหญ่ และนั่นกลายเป็นความลงตัวที่สุดในการทำงานของเขา ซึ่งเป็น Happy Brain ในการใช้ความรู้มาประยุกต์เข้ากับการทำงาน โดยเป็นงานที่ทำแล้ว ไม่ใช่ตอบโจทย์ชีวิตว่า ต้องมั่งคั่ง ร่ำรวย เป็นหนทางอย่างเดียว โชคชี้ว่าถ้าเราหันมามองตัวเองว่า “อะไรคือสิ่งที่ทำให้เราทำแล้วมีความสุข” แม้ไม่รวยเหมือนคนอื่น แต่เป็นสุข เช้าอยากมาทำงาน เย็นรู้สึกว่าเมื่อไรจะได้ทำงานอีก หามุมตรงนี้ให้เจอ โชคบอกว่า นั่นล่ะคือการค้นหาคำว่า “คุณภาพของชีวิต” พบแล้ว เมื่อไรเราหาความสุขไม่เจอ แล้วคุณภาพชีวิตก็จะไม่เกิด นี่คือสิ่งที่มันเกิดขึ้นกับสังคมสมัยใหม่ คนเราอย่าไปเอาบรรทัดฐานที่คนอื่นมากำหนดไว้ มากำหนดชีวิตตัวเอง

“ผมได้เรียนรู้ประสบการณ์ชีวิตหลากหลายรูปแบบ สิ่งที่ผมรู้สึกว่ามันเป็นการเรียนรู้หงายๆ อย่างไม่จำเป็นต้องไปเปิดตำรา เชื่อว่าประสบการณ์ที่เรามีในเชิงการบริหารทรัพยาการมนุษย์ มีมากกว่าที่เขาเขียนด้วย ผมเริ่มต้นชีวิตการทำงานช่วงที่เป็นวิกฤติ คนระส่ำระส่าย รู้สึกมีศัทธาให้องค์กรน้อย เราจึงต้องทำให้เขามีกำลังใจ ถ้าเรามีวุฒิภาวะของความเป็นผู้นำจริงๆ เราจะสามารถสะท้อนให้เขามีความเชื่อว่า อนาคตสดใสยังรออยู่” เพราะนั่นจะสะท้อนตัวตนจริงของผู้คนว่า ยิ่งช่วงวิกฤต ธุรกิจไม่สดใส คนในองค์กรทำงานจะมองเห็นความศรัทธาที่เขามีต่อเรา มีต่อหน่วยงาน ลดน้อยหรือมากขึ้น มันทำให้เราได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ จากตรงนี้

โชค บูลกุล ถือว่า ผู้คน 1,400 กว่าชีวิตในฟาร์มโชคชัย เป็นครอบครัว ที่เขาต้องดูแล มีส่วนในการร่วมสร้าง Happy Family ให้พนักงาน เพื่อร่วมกันเป็น Happy Society สังคมดีก็เกิดขึ้น

หลักในการบริหารงาน 10 ข้อ
ของ คุณโชค บูลกุล

ข้อที่ 1 บุคลิกภาพของ CEO สะท้อนให้เห็นถึงวิธีการทำงานขององค์กรนั้น ๆ
ข้อที่ 2 ผู้บริหารต้องเข้าใจจุดยืน (Position) ของตนเองในแต่ละสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง และวางกลยุทธ์การรับมือให้สอดคล้องและเหมาะสมกับแต่ละสถานการณ์
ข้อที่ 3 ความศรัทธา ทั้งศรัทธาต่อพนักงาน ศรัทธาต่อองค์กร ศรัทธาต่อเพื่อนร่วมงาน ศรัทธาต่อผู้นำ และศรัทธาต่อวิชาชีพของตนเอง ความศรัทธานั้น เปรียบได้กับพลังที่ยิ่งใหญ่ในการขับเคลื่อนธุรกิจให้ประสบความสำเร็จทีเดียว
ข้อที่ 4 ทักษะการสื่อสาร เพื่อสร้างความเข้าใจที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันขององค์กร และสามารถสะท้อนภาพลักษณ์ขององค์กรอย่างถูกต้องต่อสาธารณชน
ข้อที่ 5 การสร้างความได้เปรียบจากการเปลี่ยนแปลง โดยผู้บริหารต้องเปลี่ยนแปลงรูปแบบธุรกิจตัวเองก่อนที่จะถูกบังคับจากแรงกดดันของธุรกิจ ซึ่งความเปลี่ยนแปลงนั้น จะต้องเปลี่ยนอย่างมีหลักการ และมีสิ่งที่เรียกว่าแรงผลักดัน Dynamic of Change
ข้อที่ 6 ต้องเรียนรู้จากประสบการณ์ที่ผิดพลาด ถ้าเราสามารถก้าวข้ามความผิดพลาดไปได้นั้น มันจะยิ่งสร้างความมั่นใจต่อการตัดสินใจให้กับเรา และความผิดพลาดเหล่านั้น จะเป็นเหมือนบันไดให้เราสามารถก้าวต่อไปสู่ความสำเร็จในวันข้างหน้า
ข้อที่ 7 ความคิดสร้างสรรค์ ไม่หยุดนิ่ง
ข้อที่ 8 การมีจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ
ข้อที่ 9 การให้กำลังใจตัวเอง โดยมองว่าทุกอย่างที่ทำได้ คือความภาคภูมิใจของเรา
ข้อที่ 10 การสร้างความภาคภูมิใจให้กับตัวเราในสิ่งที่เราทำได้ อย่าไปเปรียบเทียบในสิ่งที่เราขาดกับสิ่งที่คนอื่นเขามี

หลักกลยุทธ์สร้างคน 10 ข้อ ของ คุณโชค บูลกุล
1. เป็นผู้นำที่ใช้คุณสมบัติพิเศษเฉพาะคนสร้างการเปลี่ยนแปลง
2. เป็นผู้นำที่พร้อมยอมรับการตัดสินใจของคนหมู่มาก
3. เป็นผู้นำที่ลูกน้องรัก เคารพ และเชื่อ
4. เชื่อมั่นในความผูกพันระหว่างผู้นำและทีม
5. พร้อมที่จะทำให้ดูเป็นตัวอย่าง
6. ภูมิใจในความสำเร็จ
7. ภูมิใจในความเป็นเจ้าของ
8. รู้จักมองต่างมุม
9. มีการเรียนรู้และประเมินผลอย่างต่อเนื่อง
10. มีจิตสำนึกของความเป็นครู

หลักปรัชญา 10 ข้อ ของ คุณโชค บูลกุล
1. “All or Nothing” เป็นบุคลิกและทิศทางการดำเนินธุรกิจของซีอีโอ
2. มีการจัดวางธุรกิจและการบริหารความเสี่ยง
3. มี “ศรัทธา” ในงานและกับทีมงาน
4. ให้ความสำคัญการสื่อสารและแปลงสัญญาณเพื่อถ่ายทอดสู่ทีมงาน
5. เคลื่อนไหวเร็วเต็มไปด้วยพลังความคิดสร้างสรรค์ในการเปลี่ยนแปลง
6. เรียนรู้จากข้อผิดพลาดและกล้ายอมรับผิดด้วยความมั่นใจ
7. กระตุ้นและสร้างสรรค์เสมอ คิดเหมือนเด็กแต่ปฏิบัติการอย่างมืออาชีพ
8. คาดหวังในสิ่งที่ดีกว่า
9. ชนะในเรื่องเล็กๆ แต่ชนะบ่อยๆ
10. ภูมิใจกับความสำเร็จ

หลักการทำตลาด 10 ข้อ ของ คุณโชค บูลกุล
1. เจาะตลาดเฉพาะกลุ่ม 9. มีเป้าหมายและภาพที่ชัดเจน
2. สร้างสรรค์การทำงานร่วมกัน 10. มีซีอีโอเป็นทูตของแบรนด์
3. เป็นผู้สร้างตลาดและมูลค่าการตลาด
4. ให้ความรู้กับตลาด
5. ใช้แนวคิดลิมิเต็ดอิดิชั่น
6. ใช้จุดแข็งเป็นตัวขับเคลื่อน
7. เรียนรู้จากประสบการณ์
8. High barrier of entry
เคล็ดลับบริหารคนในธุรกิจครอบครัว
(HR Management in Family Business)

การบริหารคนในธุรกิจครอบครัวนั้น มันจะไม่มีรูปแบบที่ตายตัวในการบริหาร แต่จะขึ้นอยู่กับประสบการณ์ ขนาดของธุรกิจ ความเป็นมาของธุรกิจและหลักการที่ผู้ก่อตั้งทำมาจนถึงวันนี้ เพราะฉะนั้นความไม่ตายตัวตรงนี้ คุณโชคจึงไม่อยากฟันธงว่าจะต้องเป็นแบบไหน แต่ถ้าถามความคิดเห็นของคุณโชค ในเรื่องดังกล่าวนั้น คุณโชคให้ข้อคิดว่าเราจะแบ่งเป็นยุคบุกเบิก และยุคของการรักษา ซึ่ง Generation ที่สองส่วนใหญ่เราจะเป็นยุคของการรักษา ฉะนั้น การใช้วิจารณญานในการทำธุรกิจใน style ผู้บุกเบิกบางทีอาจไม่เหมาะสม ไม่สมควรกับเวลาแล้ว แต่ถ้าผมอยู่ในยุคบุกเบิกในการบริหารธุรกิจครอบครัว การที่จะต้องทำให้รุ่นที่สองทำงานอย่างมีเหตุผล

อย่างแรกเลยคือ เราต้องแยกแยะความเป็นคนในครอบครัวและความเป็นมืออาชีพออกจากกันให้ได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่พูดง่ายแต่ยากที่จะกระทำ เพราะเมื่อเวลาเราสอนหรือให้งานแก่รุ่นที่สอง จะออกไปในแนวของพ่อสอนลูก ทำให้โจทย์ที่เรามอบหมายให้เขาทำบางทีจะเกิดความคลุมเคลือ การตัดสินใจการวิเคราะห์ผลงานก็จะเกิดความคลุมเคลือ ซึ่งจะไม่ก่อให้เกิดมาตรฐานในการพิจาณาการทำงานที่ชัดเจนและยากในการที่จะไปวัดผลคนที่ไม่ใช่คนในครอบครัวเรา ซึ่งรากฐานของครอบครัวที่ไม่เหมือนกัน จะเป็นตัวแปรสำคัญในการที่จะวางการบริหารงาน เพราะบางทีความรู้สึกจะขัดแย้งกับตัวเอง สงสารลูกบ้าง ทำให้แยกแยะลำบาก และในท้ายที่สุดคนในครอบครัว เกิดความรู้สึกว่าทำอะไร ก็ถูก ทำอะไรก็ได้ไม่มีปัญหา เราจึงอาจต้องลดความผูกพันธ์ทางอามณ์ลงมาบ้าง แล้วเพิ่มหลักการ และเอาการจัดการเข้ามาเสริม

คุณโชคยังเน้นว่าข้อยาก ก็คือ การพิจารณาคนในครอบครัว และคนที่ไม่ได้อยู่ในครอบครัว มันยากในการพิจารณาให้คุณให้โทษ เพราะถ้ามีความผูกพันกับเราคงจะยากที่จะพิจารณาโทษ ส่วนในกรณีของคุณโชคกับคุณพ่อนั้น มันไม่มีปัญหาเนื่องจาก คุณโชคขอมาทำงานในสิ่งที่ไม่มีผลประโยชน์อะไรเลย มันจึงไม่มี Commitment มาสร้างแรงกดดัน เพราะไม่มีผลประโยชน์ เพียงแต่เราอย่าไปเพิ่มความกดดันให้เขา โดยการบริหารงานไม่ให้แย่ไปกว่าที่เป็นอยู่ มันจึงดูเหมือนง่ายกว่าบางบริษัทที่มีขนาดใหญ่ ที่ต้องรักษาผลการดำเนินงานให้ดีอย่างต่อเนื่อง

โดยคุณโชค เพิ่มเติมว่า ถ้าเราสามารถบริหารจัดการคนในธุรกิจครอบครัวได้นั้น สิ่งที่ได้มาแน่ๆ ก็คือ ความรวดเร็ว เพราะธุรกิจครอบครัวได้เปรียบในเรื่องของความเร็วในการตัดสินใจ เพราะไม่ต้องคิดเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนใดๆ คนในครอบครัวสามารถพูดเรื่องงาน เรื่องนโยบายได้ทันทีไม่ว่าอยู่ที่ทำงาน ที่บ้าน หรือสถานที่ต่างๆ เมื่อทำกิจกรรมร่วมกันอยู่ ไม่เหมือนกับองค์กรใหญ่ๆ ที่จะต้องมีการนัดล่วงหน้า แจ้งเรื่องประชุม มีพิธีการมากมาย

เมื่อธุรกิจครอบครัวเติบโตขึ้นไปเรื่อยๆ นั้น ความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวไม่ควรจะลด แต่ความชัดเจนในการแยกแยะระหว่างคนที่มีความสัมพันธ์ในครอบครัว กับคนที่ต้องสัมพันธ์กันในฐานะความเป็นมืออาชีพ ตรงนี้เมื่อธุรกิจเติบโตขึ้น ต้องมีความชัดเจนและลึกซึ้งมากขึ้น

ในส่วนของบางองค์กรที่ไม่ใช่มาจากธุรกิจครอบครัว แต่มีความพยายามที่จะให้พนักงานรู้สึกว่าเป็นคนในครอบครัวนั้น ต้องขึ้นอยู่กับศิลปะการแสดงออกของเจ้าของ ที่ต้องแสดงออกต่อพนักงานในองค์กร อาจะไม่เกี่ยวกับการให้ incentive ต่างๆ ซึ่งเป็นคนละเรื่องกัน ซึ่งคุณโชคบังบอกด้วยว่าเจตนาของคุณโชคในการบริหารองค์กรฟาร์มโชคชัยนั้นต้องการให้เป็นแบบครอบครัว พี่น้อง เพราะฉะนั้น ถ้าใครอยากรู้ว่าพนักงานทุกคนรู้สึกมาอย่างที่คุณโชคต้องการหรือไม่ ลองไปเที่ยวฟาร์มโชคชัย แล้วสอบถามกับพนักงานโดยตรงได้เลย เพราะคุณโชคก็ยังอยากรู้เช่นเดียวกัน

2. บทวิเคราะห์
2.1 ทฤษฎีคุณลักษณะผู้นำ ของ แบร์โรว์ (J.D Barrow)
1. คุณลักษณะทางบุคลิกภาพของภาวะผู้นำ (Personality Traits) หมายถึง การมีความระตือรือร้น, เชื่อมั่น, มั่นใจ และมีความพยายาม
2. คุณลักษณะทางสังคมของภาวะผู้นำ (Social Traits) หมายถึง มีความเป็นมิตร,ปรับตัวง่าย และ มีมนุษย์สัมพันธ์
3. คุณลักษณะทางกายภาพของภาวะผู้นำ (Physiological Traits) หมายถึง บุคลิกท่าทางต่างๆ

2.2 ทฤษฎีภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral theories of leadership)

ในการศึกษาแบบสองมิติ ของ เบลค และ มูตัน (Robert R. Blake and Jane S. Mouton) ที่ได้ทำการพัฒนาตารางการจัดการเพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมผู้นำ ซึ่ง ตารางจะมี 2 แกนหลัก คือ

1. ความเอาใจใส่ในคน (Concern for People) หรือการมุ่งคน
2. ความเอาใจใส่ในงานหรือผลผลิต (Concern for production)

ตารางการจัดการนี้ จะแสดงพฤติกรรมของผู้บริหาร ในรูปแบบต่างๆ กันความสัมพันธ์ของความเอาใจในคนและความเอาใจใส่ในงาน

2.3 ทฤษฎีผู้นำการเปลี่ยนแปลง
หลักการทฤษฎีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง
ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง คือ กระบวนการในการก่อผู้ตามมีความต้องการและความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติงานอย่างทุ่มเทไปสู่เป้าหมาย และจุดประสงค์ขององค์การร่วมกัน จากการที่ได้ศึกษาค้นคว้าและวิจัย ทางทีมงานได้มีความคิดเห็นว่าน่าจะตรงตามกับแนวคิดทฤษฎีผู้นำการเปลี่ยนแปลงมากสุด

ผู้นำแบบแลกเปลี่ยน (Transactional Leadership) เป็นการใช้อำนวจหน้าที่ที่ให้ผู้ตามปฏิบัติงานตามจุดประสงค์เป้าหมายขององค์การ
 ใช้กฎเกณฑ์การให้รางวัล หรือ การลงโทษ
 ใช้ผลประโยชน์ส่วนบุคคลของผู้ตามมาแลกเปลี่ยนกับงาน
 พึ่งพาซึ่งกันและกันโดยการแลกเปลี่ยนสิ่งใดสิ่งหนึ่งด้วยกัน

ผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Transformational Leadership) เป็นกระบวนการที่
 ก่อให้เกิดความมุ่งมั่นในตัวผู้ตามที่จะปฏิบัติงานอย่างทุ่มเท
 ตั้งจุดประสงค์และเป้าหมายร่วมกัน
 วิสัยทัศน์ หรือ ภาพกว้างของเป้าหมายในอนาคตชัดเจน
 สร้างบรรยากาศองค์กรที่เต็มไปด้วย
– ความยุติธรรม
– ความจงรักภักดี
– ความซื่อสัตย์
– ความไว้วางใจ
 มุ่งเน้นที่จะปรับเปลี่ยนให้ผลการปฏิบัติงานเป็นไปตามเป้าหมายเพื่อความสำเร็จของธุรกิจ

หลักทฤษฎีผู้นำการเปลี่ยนแปลง ของ Bass and Avolio : 1990
 กระตุ้นความสนใจของผู้ร่วมงาน และผู้ตามให้เห็นมุมมองใหม่ในงาน
 เผยแพร่และเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในภารกิจ วิสัยทัศน์
 พัฒนาผู้ร่วมงาน หรือผู้ตามไปสู่ระดับความสามารถและศักยภาพสูงสุด
 ดลใจผู้ร่วมงานและผู้ตามให้เห็นพ้องกันว่า ผลประโยชน์ของกลุ่มหรือองค์กรนั้น สำคัญกว่า ผลประโยชน์ส่วนตน หรือบุคคล

ความคิดของ Bernard Bass เกี่ยวกับสภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และ ผู้นำแบบแลกเปลี่ยน ผู้นำส่วนใหญ่ใช้ภาวะผู้นำทั้งสองแบบ แตกต่างที่ความมากน้อย หรือความถี่ในการใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง แต่สภาวะผู้นำแบบเปลี่ยนสภาพมีประสิทธิภาพเหนือกว่า
องค์ประกอบของ “ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ” Transformational Leadership Model
องค์ประกอบที่ 1
“ ความเสน่หา ” หรือ “ Idealized Influence ”
• แสดงคุณลักษณะที่ทำให้เกิดความรู้สึก
– ไว้วางใจ, เคารพนับถือ, ชื่นชม
• แสดงให้เห็นการมีคุณธรรมจริยธรรมอันดีงาม
• พิจารณาความต้องการของผู้อื่นก่อนของตนเอง
• หลีกเลี่ยงการใช้อำนาจ ใช้เมื่อจำเป็นเท่านั้น
• ดำเนินการตามความเห็นสอดคล้องกับกลุ่มมากกว่าการตัดสินใจของตน
• ร่วมรับผิดชอบผลการดำเนินงาน
องค์ประกอบที่ 2
แรงดลใจ “ Inspirational Motivation ”
สร้างแรงดลใจ แรงบันดาลใจ ให้บุคคลต่างๆ ในองค์การ หรือ ทีมงาน ทำงานอุทิศตนเพื่อองค์การ โดย…
• จัดหางานที่เหมาะสม ท้าทาย มีความหมายต่อผู้ตาม
• แสดงให้เห็นความกระตือรือร้น และมุมมองที่ดีเกี่ยวกับตนเองและองค์การ
• นำผู้ตามมองเห็นภาพที่สวยงามของความสำเร็จขององค์การในอนาคต
• สื่อสารชัดเจน เพื่อบุคคลต่างๆในองค์การได้รับรู้ถึงความคาดหวังในผลงานและ
เสริมสร้างให้ต้องการทำให้ได้ตามที่คาดหวัง
• แสดงให้เห็นความมุ่งมั่นที่จะดำเนินงานให้บรรลุตามเป้าหมาย และวิสัยทัศน์ที่มีร่วมกัน

องค์ประกอบที่ 3
กระตุ้นการใช้ปัญญา “ Intellectual Stimulation ”
กระตุ้นให้ผู้ตาม ปรับปรุง และ ใช้ความคิดสร้างสรรค์ ในการปฎิบัติงาน โดย…
• กระตุ้นให้สำรวจ ไตร่ตรอง ตั้งคำถามเกี่ยวกับ ข้อสันนิษฐานหรือ สิ่งที่คาดการณ์ไว้
• ส่งเสริมให้คิดวางแผน
– จัดการปัญหา ในรูปแบบใหม่ๆ
– จัดการกับสถานการณ์เดิมๆ ด้วยวิธีใหม่ๆ
• ไม่ตำหนิติเตียนต่อหน้าผู้อื่น และไม่ติเตียนเพียงเพราะความคิดไม่ตรงกับผู้นำ
• ส่งเสริมการทดลองใช้วิธีใหม่ๆ

องค์ประกอบที่ 4
มุ่งความสัมพันธ์เป็นรายบุคคล “ Individualized consideration ”
ให้ความสำคัญ เอาใจใส่ สนใจ ในความต้องการของผู้ตามเป็นรายบุคคลเพื่อผู้ตามสามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพประสบความสำเร็จตามเป้าหมายผู้นำทำตนเป็นครูฝึก หรือที่ปรึกษา ของผู้ตามเป็นรายบุคคล
ผู้ร่วมงาน และผู้ตามทำงานได้อย่างมีศักยภาพสูงขึ้นเรื่อยๆ โดย…
• เสริมสร้างโอกาสการเรียนรู้ใหม่ๆ ควบคู่ไปกับ การสร้างบรรยากาศที่เต็มไปด้วยการสนับสนุนร่วมมือกัน
• เข้าใจในความต้องการและความแตกต่างของแต่ละบุคคลมีปฎิสัมพันธ์ มอบหมายงานที่แตกต่างกันไปอย่างเหมาะสม
• สื่อสารระหว่างผู้นำกับผู้ตามเป็นรายบุคคล รับฟัง แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน“ Managing by Walking Around ”
• แจกจ่ายงาน (delegation) เพื่อพัฒนาผู้ตามแต่ละบุคคล ติดตาม ให้คำแนะนำ สนับสนุนเพิ่มเติมตามสมควร โดยไม่ทำให้ผู้ตามรู้สึกถูกเพ่งเล็งหรือไม่ไว้วางใจ

ลักษณะของผู้นำการเปลี่ยนแปลง
1. Self – Defining Leader ปรับปรุงตนเองและยึดมั่นในหลักการ Team Leader เป็นผู้นำทีมที่ดี
2. Delegation กระจายอำนาจหน้าที่ Direct and Indirect Leadership กล่าวคือ …
• ผู้นำยึดปฏิบัติตาม และให้ความสำคัญต่อ จุดมุ่งหมาย เป้าหมาย ของส่วนรวมมากกว่าของตนเอง
• จัดการกับปัญหา และโอกาส อย่างรับผิดชอบ และสร้างสรรค์
• ผู้นำมอบหมายแจกจ่ายภาระหน้าที่ กระจายงานให้ผู้อื่นได้ทำอย่างอิสระ ผู้ตามใช้วิธีการตามความถนัด ตามวิถีทางของแต่ละคน เพื่อจุดมุ่งหมายที่สุงขึ้น ดีขึ้น กว่าที่ตั้งใจไว้
• สร้างความเข้าใจ และมุมมองในการพัฒนาไปได้เรื่อยๆ สร้างความตระหนักถึงภาระกิจ และเห็นแนวทางการดำเนินงานร่วมกัน
• เป็นผู้นำทั้งโดยทางตรง กับ สายงานตรง และในขณะเดียวกัน สามารถเป็นผู้นำให้ ผู้ใต้บังคับบัญชา หรือบุคลากรในระดับอื่นๆ ได้ด้วย โดยใช้วิธีหลายวิธี เช่น ผ่านสัญญลักษณ์ คำขวัญ รวมถึงการ manages by walking around

การนำภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงไปใช้ โดย Yukl ได้กล่าวไว้ว่า
1. วิสัยทัศน์
– ชัดเจนและจูงใจผู้ตาม
– อธิบายให้รับรู้ทั่วกันว่าจะบรรลุผลตามวิสัยทัศน์นั้น
– กำหนดให้เห็นความเชื่อมโยงของวิสัยทัศน์กับยุทธศาสตร์

2. เสริมสร้างความมั่นใจ
– แสดงความมั่นใจและมุมมองที่ดีของเป้าหมายมากกว่าอุปสรรค
– แสดงความมั่นใจ ไว้วางใจ ในคววามสามารถของผู้ตาม
– ให้โอกาสที่จะประสบความสำเร็จก่อนเวลที่กำหนด
– ฉลองความสำเร็จ และทำให้ทุกคนรับทราบถึงความสำคัญของการดำเนินการต่อไป

3. ดลใจผู้ตาม
– ปฏิบัติการเพื่อเป็นวิสัยทัศน์ หรือคุณค่าของงาน
– ปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างที่ดี ยึดหลักการ “ Actions speak louder than words ”

4. มอบอำนาจหน้าที่
– กระจายอำนาจและการตัดสินใจว่าจะปฏิบัติงานอย่างไรให้แก่ผู้ตามและทีมงานต่างๆ อย่างเหมาะสม

สรุปการนำภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงไปใช้
• วิสัยทัศน์
• เสริมสร้างความมั่นใจ
• ดลใจผู้ตาม
• มอบอำนาจหน้าที่

ข้อดีข้อเสียในการนำภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง

ผลดีในการใช้ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง
วิธีการ ผลดี
 มีอิทธิพลต่อผู้ตามด้วยการปลุกเร้าอารมณ์ และเป็นตัวอย่างที่ดี เป็นที่ชื่นชมของผู้ตาม  ผู้ตามเกิดความต้องการที่จะปฏิบัติงานตามแบบอย่างและพัฒนาตนเป็นผู้นำเช่นเดียวกันในอนาคต
 ทำหน้าที่เป็นครู พี่เลี้ยง ผู้ฝึกสอน ที่คอยดูแลและแนะนำแก่ผู้ตาม  ผู้ตามรู้สึกว่าได้รับการสนับสนุนจากผู้นำ เป็นรายบุคคล เป็นทีม เกิดกำลังใจที่จะทำงานให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม และมีทักษะ ความสามารถพอเพียงในการดำเนินงานสู่เป้าหมาย
 ใช้วิธีการยกระดับผู้ตามด้วยการมอบอำนาจความรับผิดชอบการตัดสินใจ (Empowerment)  ผู้ตามรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของทีม ขององค์การ ของกลุ่ม และพัฒนาตนเองไปสู่ระดับการทำงานที่ดีขึ้น ทุ่มเทมากขึ้นเพื่อดำเนินงานสู่ความสำเร็จ
 ยกระดับการรับรู้สำนึกและผูกพันของผู้ตาม ให้ตระหนักถึงความสำเร็จและคุณค่าของผลสำเร็จในการปฏิบัติงาน  ผู้ตามมีความพยายามมากขึ้นที่จะดำเนินงานสู่เป้าหมาย
 ให้อิสระในการทำงานที่มอบหมายสามารถเลือกตัดสินใจดำเนินการตามความคิดของแต่ละบุคคลหรือกลุ่ม  สร้างบุคคลหรือทีมงานที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ทำให้องค์การหรือกลุ่มเพิ่มพูนศักยภาพในการดำเนินงาน
 รับรู้ความต้องการของแต่ละบุคคล แต่ละทีมงาน หน่วยงาน แล้วผลักดันให้ความต้องการนั้นปรับเปลี่ยนไปให้สอดคล้องกับความต้องการขององค์การหรือทีมงาน  ผู้ตามรู้สึกว่าความต้องการของตนเอง สอดคล้องกับความสำเร็จขององค์การหรือทีมงาน ทำให้มุ่งทำงานเพื่อส่วนรวมมากขึ้นกว่าการทำเพื่อตนเอง
 สร้างความชัดเจนในวิสัยทัศน์ จุดประสงค์ เป้าหมายและยุทธศาสตร์ และทำให้ผู้ตามรู้สึกมีส่วนร่วมในการกำหนด และเห็นความสำคัญของการดำเนินงานไปยังสิ่งเหล่านั้น รวมทั้งแสดงให้เห็นด้วยการยกย่องบุคคลหรือทีมงานเมื่อประสบความสำเร็จตามลำดับขั้นตอน  ผู้ตามมีทิศทางที่ชัดเจนในการปฏิบัติงาน ได้รับการสนับสนุนและรับรู้ว่าผู้นำเห็นความพยายาม ความมุ่งมั่นในการทำงาน และได้รับการยกย่องความสำเร็จในแต่ละขั้นตอนทำให้มีแรงดลใจที่จะทำงานให้ประสบความสำเร็จสูงขึ้นเรื่อยๆ

วิธีการ
ผลดี
 มีปฏิสัมพันธ์กับทุกคนในรูปแบบที่เป็นทางการ และไม่เป็นทางการ  ผู้ตามรู้สึกว่าได้รับการเอาใจใส่เป็นรายบุคคล รู้สึกว่าผู้นำไม่ได้ปิดตัว รู้สึกว่าได้รับการสนับสนุนจากผู้นำเสมอ
 มีวิสัยทัศน์ที่ดีและปฏิบัติการที่ทำให้ผู้ตามตระหนักถึงความก้าวหน้าที่ต้องดำเนินไปเรื่อยๆ อย่างไม่หยุดยั้ง  ผู้ตามรู้สึกว่าต้องพัฒนาตนและองค์การไปอย่างไม่หยุดยั้ง ทำให้การเติบโตหรือความสำเร็จดำเนินไปโดยไม่สะดุด มีนวัตกรรมใหม่ๆ เกิดขึ้น องค์การเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมหรือในธุรกิจด้านนั้น
 ดำเนินการให้ความสำคัญต่อการใช้ความคิดสร้างสรรค์ การริเริ่มนวัตกรรมและวิธีการใหม่ๆ รวมถึงการยอมรับการเปลี่ยนแปลงตามความคิดของผู้ตามด้วย  ผู้ตามรู้สึกว่าตนมีคุณค่าต่อบริษัท มีแรงดลใจที่จะคิดสร้างสรรค์ และดำเนินการเปลี่ยนแปลงไปได้กันต่อ สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงเรื่อยๆ ในยุคโลกาภิวัตน์ ผู้ตามพัฒนาตนเองอยู่เสมอและองค์การหรือทีมหรือกลุ่มย่อมพัฒนาตามไปด้วย
 ดำเนินการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์การไปตามการพัฒนาและยุคสมัยด้วยการมีวิสัยทัศน์ชัดเจนต่อการเปลี่ยนแปลงในอนาคต  องค์การเปลี่ยนแปลงได้ทันต่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ทำให้สามารถอยู่รอดและมีความก้าวหน้าตลอดเวลา

ผลเสียในการใช้ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง
วิธีการ ผลเสีย
 ให้ความสำคัญกับความสำเร็จของการรวมตัวของสมาชิกในองค์การ หรือ กลุ่ม และไม่ให้ความสำคัญกับความคิดเห็นที่แตกต่างกันภายในองค์การ หรือ กลุ่ม (Berg and Sleegers 1996)  ผู้ตามที่มีความคิดเห็นแตกต่างมักจะไม่ได้รับการยอมรับ ทำให้เกิดการต่อต้านซึ่งอาจจะนำไปสู่ปัญหาและความสูญเสียได้
 ผู้นำใช้อิทธิพลความเสน่หา (Charisma หรือ Idealized influence) ทำให้ผู้ตามมีความมั่นใจในตัวผู้นำ และมีความต้องการที่จะปฏิบัติตามผู้นำ  หากผู้นำเป็นไม่มีคุณธรรมอาจจะนำให้ผู้ตามเชื่อในสิ่งที่ผิดหรือไม่ถูกไม่ควร หรือ ไม่เป็นจริงได้
 ผู้นำมีความเชื่อมั่นสูงว่าทำในสิ่งที่ถูกต้อง  การที่ผู้นำเชื่อในสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่ได้หมายความสิ่งที่เชื่อนั้นจะถูกต้อง
 ผู้นำอาจจะไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
 ภาวะผู้นำแบบเปลี่ยนสภาพกระตุ้นความกระตือรือร้นของผู้ตามอยู่เสมอ  ถ้าปฏิบัติการดังกล่าวมีมากเกินไปผู้ตามอาจจะล้าและรู้สึกว่าหมดไฟได้
 ผู้นำมีความต้องการที่จะชักจูงและจูงใจผู้ตามตลอดเวลา  ผู้นำอาจจะกลายเป็นผู้ที่ไม่รับฟังผู้อื่นเพียงพอ ต่อต้านการถูกวิพากษ์วิจารณ์ ขาดความรู้สึกร่วมกับผู้อื่น ไม่สบอารมณ์กับการที่ผู้อื่นแนะนำ และมีความต้องการอย่างแรงสูงที่จะแข่งขันและชนะ (Maccoby, 2000)
 องค์ประกอบทั้ง 4 หรือ Four I’s นั้น มีความคล้ายคลึงอย่างมากกับ Cult Trait (Langone, 1995)  การนำผู้ตามสู่ความเชื่อกฎเกณฑ์และความต้องการขององค์การเป็นไปโดยเน้นผลประโยชน์ขององค์การ หรือกลุ่ม เท่านั้น ทำให้ผู้ตามหลงทางและสูญเสียความคิดหรือความเป็นบุคคลที่แตกต่าง (Berg and Sleegers : 1996)

ภาวะผู้นำของคุณโชค บูลกุล เป็นประเภทประชาธิปไตย หรือแบบทางสายกลาง มุ่งคน และมุ่งงาน เท่าๆ กัน ซึ่งมีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงอยู่เต็มตัว และมีความสามารถในการใช้อำนาจ และจูงใจให้พนักงานกว่า 1,500 คนปฎิบัติตาม ด้วยความศรัทธา คือ คนที่ลูกน้องอยากเดินตาม “โชค บูลกุล” เป็น “ภาวะผู้นำ” ในความหมายนี้ และยิ่งทำงานนานเข้า เขาก็ยิ่งเชื่อมั่นว่า “ความศรัทธา” ที่มีต่อ “ผู้บริหาร” เป็นเรื่องสำคัญ สำคัญกว่านโยบายขององค์กรที่สวยหรูเสียอีก เพราะถ้านโยบายสวยหรู แต่ไม่มีใครอยากเดินตาม ต่อให้เขียนนโยบายเพราะพริ้ง ตัวอักษรสวยงามเพียงใด แต่เมื่อไม่มีใครเชื่อมั่นศรัทธา การลงมือทำก็ทำแบบแกนๆ ทำแบบขอไปที สุดท้ายนโยบายก็จะเป็นเพียงแค่ตัวอักษร และ “ผู้นำ” ที่พนักงานศรัทธา จะทำให้การบริหารงานหรือสั่งการไม่มีปัญหาหรือมีปัญหาน้อย ทุกคนเชื่อมั่นและพร้อมทำตาม ไม่เหมือนกับ “ผู้นำ” ที่ไม่ได้รับแรงศรัทธาจากลูกน้อง มักจะเกิดปัญหาการบริหารเป็นประจำการขับเคลื่อนก็ช้า เพราะลูกน้องมีคำถามมากมาย และมักจะมีปัญหาเรื่องท่าทีเกิดขึ้นเป็นประจำ

การวิเคราะห์ทฤษฎีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง กับ คุณโชค บูลกุล
กลุ่มทฤษฏีนี้เชื่อว่า ผู้นำ คือผู้ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เกิดนวัตกรรม โดยการตัดสินใจเลือกทำในสิ่งที่สมควรทำ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและจุดประกายสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผู้ตามให้เกิดการเริ่มตัน ยืนหยัด มุ่งมั่น และทุ่มเทการทำงานอย่างเต็มที่
การสร้างความได้เปรียบจากการเปลี่ยนแปลง โดยผู้บริหารต้องเปลี่ยนแปลงรูปแบบธุรกิจตัวเองก่อนที่จะถูกบังคับจากแรงกดดันของธุรกิจ ซึ่งความเปลี่ยนแปลงนั้น จะต้องเปลี่ยนอย่างมีหลักการ และมีสิ่งที่เรียกว่าแรงผลักดัน Dynamic of Change

การเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลง….ที่ความแตกต่าง
การมองว่าเรามีอะไร เรามีความแตกต่างอย่างไร และต้องเป็นสิ่งที่ copy ได้ช้า นี่คือความได้เปรียบ ในส่วนของฟาร์มโชคชัยเรามีระบบระบียบที่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งเป็นcontent ที่คนรุ่นใหม่ต้องการ ระบบระเบียบที่เกิดขึ้นในฟาร์มไม่ได้เกิดขึ้นจากการแสวงหากำไรอย่างเดียว หรือการ copy อย่างเดียว แต่เกิดจากประสบการณ์สั่งสม จากทักษะของเกษตรกรมืออาชีพ
การสร้างความภาคภูมิใจก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งซึ่งจะเป็นการสร้างประสิทธิภาพให้กับบุคลากร ทำอย่างไรให้เขาศรัทธาองค์กร ซึ่งจะทำให้ turnover rate น้อย
ฟาร์มโชคชัยมีโครงสร้างองค์กรที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา เพื่อ motivation การทำงาน และในการ recruit คนจะพยายามหาคนที่ศรัทธาในองค์กรของเรา ซึ่งก็ได้พิสูจน์แล้วว่าเราสามารถผ่านวิกฤตมาได้เพราะพนักงานมีศรัทธาในองค์กร

Bernard M. Bass และ คณะทำงาน ได้แบ่งประเภทผู้นำเป็น 2 แบบ ดังนี้
1. ผู้นำเชิงจัดการ หรือ ผู้นำปฎิบัติ ( Transactional Leadership Theories ) คือ ผู้นำที่มีบทบาทในการจูงใจลูกน้องให้ปฎิบัติงานตามความคาดหวังขององค์การ
จากกรณีศึกษา คุณโชค บูลกุล แสดงให้เห็นว่าเป็นผู้นำในเชิงจัดการโดยเป็นผู้นำปฎิบัติโดยใช้กลยุทธ์ด้าน “ศรัทธา” เข้ามาใช้โดยตัวเองทำเป็นตัวอย่าง ให้ลูกน้องเกิดความศรัทธา และลูกน้องจึงจะทำตาม ดังตัวอย่างที่กล่าวดังต่อไปนี้
การใช้ “ ศรัทธา ” ( Faith )
การที่จิตใจยึดมั่นโดยไม่สั่นคลอน หมดข้อสงสัย หรือข้อโต้แย้งใดๆ ทั้งสิ้น
ปรัชญาการบริหารงานข้อหนึ่งของ “โชค” “ในบางครั้งศรัทธาที่มีต่อผู้บริหาร สำคัญกว่านโยบายขององค์กรเสียอีก” “โชค” บอกว่าเขาใช้คำว่า “ศรัทธา” ในการบริหารงานมาตั้งแต่เริ่มต้นทำงาน ไม่ใช่เรียกร้องให้คน “ศรัทธา” แต่ทำงานให้คนรู้สึก “ศรัทธา” และ “เชื่อมั่น” ปีแรกของการทำงาน เขาไม่ได้ขายฝันขนาดใหญ่โตกับ “พ่อและแม่”
เพราะพูดตอนนั้น อย่างไรผู้ใหญ่ก็คงไม่เชื่อ เป็นเรื่องธรรมดาครับ เด็กหนุ่มเพิ่งเริ่มงานครั้งแรกจะให้พ่อและแม่เชื่อมั่นได้อย่างไร ต้องทำงานให้เขายอมรับก่อน “โชค” บอกเคล็ดลับให้กับคนที่ต้องมาสานต่อธุรกิจครอบครัวว่าต้องดูก่อนว่าใครเป็น “ซีอีโอ” “พ่อ” หรือ “แม่” ที่ฟาร์มโชคชัย “แม่” เป็น “ซีอีโอ” และเป็น “นักบัญชี” “โชค” บอกว่า “นักบัญชี” กับ “นักการตลาด” นั้นต่างกัน คนเป็น “นักการตลาด” จะกล้าเสี่ยง ใช้เงินเก่ง กล้าใช้แม้แต่เงินอนาคต แต่ “นักบัญชี” จะไม่ยอมใช้เงิน แม้จะมีเงินก็ไม่ยอมใช้ ดังนั้น เมื่อฟาร์มโชคชัยมี “ซีอีโอ” เป็น “นักบัญชี” “โชค” ก็วางแผนงานว่าปีแรกฟาร์มโชคชัยต้องไม่มีปัญหาการเงิน เพื่อให้เกิดการยอมรับจาก “ซีอีโอ” ดังนั้น นโยบายของเขาในปีแรก คือ ธุรกิจต้องไม่มีปัญหาเรื่องกระแสเงินสดหมุนเวียน กำไร หรือขาดทุนยังไม่ต้องสนใจ สนใจกระแสเงินสดที่เข้า-ออกมากกว่า ให้ “เงินเข้า” มากกว่า “เงินออก” ไม่ต้องกู้หนี้ยืมสิน จากธุรกิจที่ต้องกู้เงินมาโปะเป็นประจำ 1 ปีผ่านไป “โชค” สามารถทำให้ฟาร์มโชคชัยไม่ต้องกู้เงิน บริหารกระแสเงินสดได้เป็นอย่างดี ผลงานที่เกิดขึ้น ทำให้ “พ่อ-แม่” เชื่อมั่นในตัว “โชค” และทำให้ผู้บริหารและคนงานเริ่ม “ศรัทธา” กับเด็กหนุ่มคนนี้ ยิ่งนานวัน ผลงานที่ประจักษ์ก็ยิ่งทำให้ลูกน้องศรัทธามากขึ้น

“อานันท์ ปันยารชุน” เคยบอกว่าผู้นำที่ดี คือ คนที่ลูกน้องอยากเดินตาม “โชค บูลกุล” เป็น “ผู้นำ” ในความหมายนี้ และยิ่งทำงานนานเข้า เขาก็ยิ่งเชื่อมั่นว่า “ความศรัทธา” ที่มีต่อ “ผู้บริหาร” เป็นเรื่องสำคัญ สำคัญกว่านโยบายขององค์กรที่สวยหรูเสียอีก เพราะถ้านโยบายสวยหรู แต่ไม่มีใครอยากเดินตามต่อให้เขียนเพราะพริ้งตัวอักษรสวยงามเพียงใด แต่เมื่อไม่มีใครเชื่อมั่นศรัทธา การลงมือทำก็ทำแบบแกนๆ ทำแบบขอไปที สุดท้ายนโยบายก็จะเป็นเพียงแค่ตัวอักษร และ “ผู้นำ” ที่พนักงานศรัทธา จะทำให้การบริหารงานหรือสั่งการไม่มีปัญหาหรือมีปัญหาน้อย ทุกคนเชื่อมั่นและพร้อมทำตาม ไม่เหมือนกับ “ผู้นำ” ที่ไม่ได้รับแรงศรัทธาจากลูกน้อง มักจะเกิดปัญหาการบริหารเป็นประจำการขับเคลื่อนก็ช้า เพราะลูกน้องมีคำถามมากมาย และมักจะมีปัญหาเรื่องท่าทีเกิดขึ้นเป็นประจำ เป็น “วิธีคิด-วิธีการตัดสินใจ” ของเด็กหนุ่มที่มีอายุเพียง 25 ปี ตอนนั้นเขาเพิ่งเข้ามาดูแลกิจการของครอบครัว ที่มีทั้งฟาร์มโชคชัย และโรงงานนมสดตราฟาร์มโชคชัยและหนี้สินถึง 400 ล้านบาท ตอนตัดสินใจระหว่างการขายโรงงานนมสดตราฟาร์มโชคชัย กับฟาร์มโชคชัย เขาเลือกขายโรงงาน เพราะนอกจากได้เงินเป็นจำนวนมากพอชำระหนี้แล้ว “โชค” ยังมีหลักคิดที่สวนกระแสของคนหนุ่มสาวทั่วไป “อะไรที่เหนื่อยน้อย เงินมาก จะไม่มั่นคง แต่อะไรที่เหนื่อยมาก เงินน้อย จะมั่นคง” คนส่วนใหญ่เวลาเลือกลงทุนทำธุรกิจ เขามักจะเลือกธุรกิจที่เหนื่อยน้อย ได้เงินมากๆ ไม่มีใครอยากเหนื่อย อยากเหงื่อออกหรอกครับ และเพราะใครๆ ก็อยากทำธุรกิจแบบนี้ “คู่แข่ง” ในตลาดจึงเยอะ “โชค” เลือกธุรกิจที่ต้องลงแรงมาก เหนื่อยมาก แต่ได้เงินน้อยหน่อย นั่นคือ การทำฟาร์มโชคชัย เขาเชื่อว่าคนที่จะเลือกลงสนามแบบนี้มีน้อย เมื่อ “คู่แข่ง” น้อย ธุรกิจนี้ก็ย่อมจะมั่นคง แต่ “โชค” ไม่ได้คิดทำฟาร์ม แบบธุรกิจการเกษตรทั่วไป ตามปกติธุรกิจการเกษตรขนาดใหญ่มักจะต่อยอดธุรกิจจากการผลิต สู่การแปรรูปสินค้า เหมือนที่ “ซีพี” ทำฟาร์มไก่ และต่อยอดเป็น “ไก่ย่างห้าดาว-เชสเตอร์กริลล์” แต่ “โชค” ต่อยอดฟาร์มโชคชัย ให้งอกงามเป็นธุรกิจท่องเที่ยว ปีที่แล้วมีนักท่องเที่ยวไปเยี่ยมชมฟาร์มโชคชัยถึง 300,000 คน และปีนี้เขาเริ่มขยายไลน์ธุรกิจ จากที่เคยแวะเที่ยวแบบไปเช้า-เย็นกลับ มาเป็นการตั้งแคมป์พักแรม แต่เป็นแคมป์พักแรมที่หรูหน่อย ติดแอร์ เป็น “บูติกแคมป์” ในพื้นที่ป่าส่วนตัวประมาณ 200 ไร่ และกลายเป็นที่พักที่ได้รับการคัดเลือกให้ติด 1 ใน 50 ที่พักในหนังสือ “อันซีน พาราไดซ์” ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

“โชค” บอกว่าคนรุ่นใหม่อยากใช้ชีวิตกลางแจ้งบ้าง แต่ต้องการความปลอดภัย และพักสบาย “บูติกแคมป์” ของฟาร์มโชคชัยตอบโจทย์นี้เป็นอย่างดี เพราะอยู่ในป่าส่วนตัว

2. ผู้นำเชิงปฎิรูป หรือ การเป็นผู้นำการปฎิบัติ ( Transformational Leadership Theory ) คือผู้นำที่สามารถสร้างแรงบันดาลใจ ให้แก่บุคคลจำนวนมากลงมือมากกว่าเดิมให้ใต่สู่ระดับที่สูงขึ้น

ปัจจัยสำคัญ ของคุณโชค บูลกุล ที่เป็นผู้นำเชิงปฎิรูป หรือ การเป็นผู้นำการปฎิบัติ
1 คุณโชค บูลกุล มีบารมี หน้าตาดี เก่ง มีความคิดที่แปลกใหม่ และได้รับบารมีส่วนหนึ่งมาจากครอบครัวที่สร้างมาแต่เดิมด้วย
2 มีการพิจารณาลูกน้องในฐานปัจเจกบุคคล เช่น การสร้างผู้บริหารระดับสูงหรือเปิดโอกาสให้พนักงานทั่วไปแสดงความสามารถในการทำงาน เพื่อทำให้พนักงานดังกล่าวสามารถไต่สู่ระดับเป็นผู้บริหารระดับสูงได้ ซึ่งเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้ พนักงานที่มีความรู้ความสามารถให้เติบโตในองค์การอย่างต่อเนื่อง เป็นผลทำให้พนักงานมุ่งมั่นทำงานและเป็นผลทำให้องค์การประสบความสำเร็จหรือบรรลุเป้าหมายไปด้วยพร้อมๆ กัน
3 คุณโชค บูลกุล กล่าวไว้ว่า “ กลุ่มฟาร์มโชคชัย เราเน้นซอฟแวร์ของธุรกิจ คือ “ บุคลากรเราสร้างความภาคภูมิใจให้กับคนและผลงานซึ่งผลงงานที่ทำไว้จะสร้างแรงบันดาลใจให้กับบุคลากร” เราสร้างความตระหนักว่าคุณเป็นส่วนหนึ่งของบริษัท ความรู้ความเข้าใจในธุรกิจมากขึ้น ดังนั้นต้นทุนจึงลดขณะที่ขีดความสามารถในการทำกำไรก็เพิ่มขึ้น”

คุณลักษณะของคุณโชค บูลกุล ในเชิงปฎิรูป คือ
1. การมีวิสัยทัศน์ มองการณ์ไกล เช่น การต่อยอดฟาร์มโชคชัย ให้งอกงามเป็นธุรกิจท่องเที่ยว ปีที่แล้วมีนักท่องเที่ยวไปเยี่ยมชมฟาร์มโชคชัยถึง 300,000 คน และปีนี้เขาเริ่มขยายไลน์ธุรกิจ จากที่เคยแวะเที่ยวแบบไปเช้า-เย็นกลับ มาเป็นการตั้งแคมป์พักแรม แต่เป็นแคมป์พักแรมที่หรูหน่อย ติดแอร์ เป็น “บูติกแคมป์” ในพื้นที่ป่าส่วนตัวประมาณ 200 ไร่ และกลายเป็นที่พักที่ได้รับการคัดเลือกให้ติด 1 ใน 50 ที่พักในหนังสือ “อันซีน พาราไดซ์” ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และยังมีการวางแผนและกำหนดเป้าหมายระยะยาวในธุรกิจกลุ่มอื่นๆ ด้วย
2. การมีบารมี คือ คุณโชค บูลกุล ได้รับบารมีมาจากครอบครัวส่วนหนึ่ง และตนเองได้สร้างเพิ่มเติมอีกส่วนหนึ่ง ส่วนในการสร้างบารมีเพิ่ม ก็คือ การสร้าง “ศรัทธา” ให้กลับลูกน้องในองค์การตัวเอง โดยโชค บูลกุล ต้องดูแลพนักงาน 1,400 กว่าชีวิตในฟาร์มโชคชัย เป็นครอบครัว ที่จะมีส่วนในการร่วมสร้าง Happy Family ให้พนักงาน เพื่อร่วมกันเป็น Happy Society สังคมดีก็เกิดขึ้น ถือว่าเป็นการสร้างบารมีไปในตัวด้วย
3. การแสดงนัยของความเป็นเลิศ คือการแสดงให้ลูกน้องเห็นตัวตนเรามีความสามารถ ดังเช่นที่ คุณโชค บูลกุล สามารถบริหารกิจการจากขาดทุนสะสมต่อเนื่อง ให้มีกำไรและอัตราการเจริญเติมโตถึง 60 % ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่า คุณโชค บูลกุล มีความสามารถเป็นเลิศ
4. ความซื่อสัตย์ คุณโชค บูลกุล มีความซื่อสัตย์ในอาชีพตนเอง ส่งสินค้าและบริการไปขายต่างประเทศด้วยวัสดุที่ดีมีคุณภาพ ไม่เอารัดเอาเปรียบกับลูกค้า หรือ บุคลากรในองค์การ ทำให้สร้างชื่อเสียงให้กับองค์การและประเทศชาติเป็นอย่างมาก

สรุปการวิเคราะห์การมีภาวะผู้นำ ของ “คุณโชค บูลกุล”
1. การมีวิสัยทัศน์ (Vision)
จากคำกล่าวที่ว่า “เราจะมุ่งมั่นสู่ปณิธาน “องค์กรจากดิน…สู่ภูมิปัญญา” เราจะก้าวสู่ความเป็นเลิศขององค์กรไทยหัวใจเกษตร ที่พร้อมเป็นแบบอย่างแห่งการพัฒนาธุรกิจให้มีมูลค่าเพิ่มอย่างต่อเนื่อง สร้างสรรค์จุดแข็งของกิจการหลักให้ลือเลื่อง และอยู่ร่วมสมัย เป็นต้นแบบในการสร้าง “คน” ที่มีคุณค่าแก่สังคมไทย และพร้อมก้าวต่อไปอย่างมั่นคงและยั่งยืน” แสดงถึงความมีวิสัยทัศน์ของ คุณโชค บูลกุล ในภาวะผู้นำสมัยใหม่อย่างชัดเจน
2. การกำหนดพันธกิจ (Mission) หรือ เป้าหมาย (Goal) ที่ดี
พัฒนาฟาร์มโคนมให้มีระบบการจัดการที่ดี และมีความทันสมัย โดยต้องมีการพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนธุรกิจ ให้ยืนหยัดได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน
พัฒนาสายพันธุ์โคนมให้ทนทานต่อสภาพแวดล้อม มีศักยภาพในการให้ปริมาณผลผลิตและคุณภาพของ น้ำนมดิบ ที่เหนือกว่ามาตรฐานของประเทศ
ผลิตและสร้างสรรค์สินค้าและบริการที่มีคุณค่า สาระ และแรงบันดาลใจด้วยมาตรฐานที่เกินความ คาดหมายของลูกค้า
สร้างความผูกพันให้แก่สินค้าและบริการ ด้วยประสบการณ์ที่ลูกค้าสัมผัสได้ เปลี่ยนความรู้ให้เป็นทุน มีจิตสำนึกในการรับผิดชอบ ตอบแทนสังคมด้วยการพัฒนาธุรกิจบนหลัก บรรษัทบริบาล
3. การบริหารงานตามแนวทาง Blue Ocean Strategy
คือการหลีกเลี่ยงการแข่งขันที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บทั้งสองฝ่ายโดยองค์กรที่ใช้กลยุทธ์ดังกล่าวจะไม่สนใจต่อการแข่งขันหรือตัวคู่แข่งขันเท่าใด เรียกได้ว่าจะไม่เข้าไปแข่งขันในตลาดหรืออุตสาหกรรมเดิม ๆ แต่พยายามที่จะสร้างตลาดหรืออุตสาหกรรมใหม่ ๆ ที่ยังไม่มีใครสร้างหรือเข้าไป และแทนที่จะเป็นการเอาชนะคู่แข่งกลับเป็นการทำให้คู่แข่งล้าสมัยไป (W. Chan Kim และ Renee Mauborgne นำเสนอ Blue Ocean Strategy คือแทนที่จะมุ่งลอกเลียนแบบและเอาชนะกัน ก็ให้มุ่งหาทะเลแห่งใหม่ซะ โดยใช้หลัก Eliminated Reduced Raised และ Created )

บทความ Blue Ocean Strategy ที่เกี่ยวข้องกับ ฟาร์มโชคชัย ของคุณโชค บูลกุล
ชาน คิมและ เรเน โมบอร์ค ได้เขียนแนวคิดเรื่องกลยุทธ์น่านน้ำสีคราม (Blue Ocean Strategy) ในหนังสือด้านการจัดการที่ได้รับความนิยม และมียอดขายอยู่ในระดับสูงมากช่วงในทศวรรษนี้ว่า ทะเลสีครามนั้นคือพื้นที่ของตลาดที่ยังไม่ใครจับจอง ผู้ที่ต้องการจะครอบครองน่านน้ำสีครามนั้นจะต้องมองผ่านเลยการแข่งขันที่รุนแรงของตลาดที่เป็นอยู่หรือที่เรียกกันว่า น่านน้ำสีเลือด (Red Ocean)
สิ่งหนึ่งที่ทำให้บริษัทหลายแห่งไม่สามารถก้าวผ่านหรือกล้าที่จะมองผ่านการแข่งขันในตลาดที่ตนเองกำลังมีบทบาทอยู่นั่นก็คือ “ความกลัว” ความกลัวที่ว่า น่านน้ำสีครามที่ทั้ง คิม และ โมบอร์ค พูดถึงในหนังสือของเขานั้นจะไม่มีอยู่จริง หรือถ้ามีจริงก็อาจจะเป็นน่านน้ำที่ตื้นเขิน คือมีลูกค้าน้อยรายจนไม่สามารถทำให้บริษัทสามารถทำกำไร และอยู่รอดได้ ทางที่ดีแล้วน่านน้ำสีครามนั้นน่าจะเป็นแค่ทางเลือกเมื่อหาทางอยู่รอดในน่านน้ำสีเลือดไม่ได้ เราอาจจะพบว่าสำหรับบริษัทโดยทั่วไปแล้ว หากไม่ถูกบีบคั้นจากการแข่งขันทางธุรกิจอย่างหนักหน่วง เส้นทางของการใช้กลยุทธ์น่านน้ำสีครามนั้นก็เป็นเพียงแค่ทางเลือกท้ายๆ ที่จะลงมือปฏิบัติ ยิ่งบริษัทมีขนาดใหญ่เท่าใด โอกาสในการมองหาน่านน้ำสีครามนั้นยิ่งเป็นแค่เพียงแนวคิด เพราะหากคิดกันดีๆ แล้ว การย้ายฐานจากกลุ่มลูกค้าที่มีอยู่ไปสู่กลุ่มผู้ซื้อที่ไม่เคยสนใจหรือใช้สินค้าของเรานั้น เป็นความเสี่ยงต่อการล้มเหลวที่อาจจะยอมรับไม่ได้ และหากมองบริษัทในบ้านเรานั้น อาจจะยังไม่มีหลักฐานใดที่ปรากฏอย่างเด่นชัดว่า ได้มีการใช้กลยุทธ์น่านน้ำสีครามอย่างเต็มรูปแบบ เท่าที่พบส่วนใหญ่นั้นจะเป็นการนำกลยุทธ์ของน่านน้ำสีครามไปปรับเสริมเพื่อใช้ต่อสู้แข่งขันในน่านน้ำสีเลือดเสียมากกว่า ไม่ว่าจะเป็นการมองหาผู้ซื้อที่ไม่ได้เป็นลูกค้า หรือการสร้างความแตกต่างในตัวสินค้าหรือบริการที่ฉีกออกจากกฎเกณฑ์ปกติของตลาด
แต่อย่างไรก็ตามผมคิดว่า ตัวอย่างของธุรกิจที่น่าจะเป็นตัวแบบของการค้นหาและจับจองน่านน้ำสีครามได้สำเร็จของบ้านเราก็คือ “ฟาร์มโชคชัย” ซึ่งในช่วงของถ่ายโอนอำนาจจากรุ่นพ่อไปสู่ยังคุณโชคในรุ่นลูกนั้น ตัวของคุณโชคเองก็อาจจะยังไม่รู้เสียด้วยซ้ำว่า ตนเองกำลังนำธุรกิจเคลื่อนเข้าสู่น่านน้ำสีคราม ถึงตัวแบบและกระบวนวิธีการอาจจะไม่เหมือนดังกับที่คิม และ โมบอร์คได้นำเสนอไว้ในหนังสือ แต่ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกลับมีความใกล้เคียงกันเป็นอันมาก ในกรณีศึกษาของฟาร์มโชคชัยนี้จะนำแนวคิดกลยุทธ์น่านน้ำสีครามของคิม และโมบอร์คมาสวมทับเพื่อให้เห็นว่า น่านน้ำสีครามที่คุณโชคค้นพบนั้นเป็นอย่างไร
การสร้างขอบเขตใหม่ในน่านน้ำสีครามก็คือการที่จะทำอย่างไรให้คนกลุ่มนี้กลายมาเป็นลูกค้าของธุรกิจของฟาร์มโชคชัยให้ได้ถึงแม้พวกเขาจะไม่บริโภคเนื้อก็ตาม น่านน้ำสีครามที่ทำให้เกิดความลงตัวในการสร้างธุรกิจของฟาร์มแห่งนี้ก็คือ “การจัดทำธุรกิจเกษตรเชิงนิเวศน์” คือจัดฟาร์มให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว และเปิดให้ผู้ที่สนใจเข้าชม นอกจากนี้สถานที่ท่องเที่ยวใหม่ของฟาร์มโชคชัยแห่งนี้ยังแฝงไปด้วยกลเม็ด เทคนิคต่างๆ ที่ถูกสร้างขึ้นอย่างดึงดูดใจให้ลูกค้าผู้มาใช้บริการเกิดประสบการณ์ของการท่องเที่ยวอย่างสนุกและมีความสุข ไม่ว่าจะเป็นสวนสัตว์ขนาดย่อม การแสดงของสัตว์ประเภทต่างๆ เช่นการแสดงของสุนัข หรือการแสดงการผสมพันธุ์ของพ่อโค การแสดงบนหลังม้าของเหล่าโคบาล การให้ผู้เข้ามาชมได้ร่วมขี่ม้า หรือแม้กระทั่งเปิดโอกาสให้ผู้เข้าชมได้มีประสบการณ์การรีดนมวัวจากเต้า ซึ่งก็ถือได้ว่าเป็นประสบการณ์การท่องเที่ยวที่ดูแปลกใหม่และยังไม่มีใครคิดทำในสเกลเชิงพาณิชย์ในลักษณะนี้ขึ้นมาก่อน เมื่อแนวคิดนี้ได้ถูกขยายและนำมาใช้เชิงพาณิชย์อย่างเป็นรูปธรรม ความพึงพอใจ การเติบโต และกำไรก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นตามมา
น่านน้ำสีครามที่เกิดขึ้นจากธุรกิจการเกษตรเชิงนิเวศน์ก็คือ ผู้ที่ไม่ได้บริโภคเนื้อหรือไม่คิดจะบริโภค กลายมาเป็นผู้ซื้อสินค้าจากฟาร์มโชคชัย ผู้ที่ไม่เคยคิดว่าจะจ่ายเงินให้กับธุรกิจปศุสัตว์โคเนื้อและโคนมกลับกลายมาเป็นลูกค้า และในบางคนที่ไม่ทานเนื้อกลับกลายเป็นเซล์แมนให้กับฟาร์มอย่างไม่รู้ตัว นั่นคือเมื่อเข้าเยี่ยมชม และท่องเที่ยวในฟาร์มแห่งนี้แล้วรู้สึกประทับใจก็กลับไปชวนเพื่อนพ้องพี่น้องมาเที่ยวด้วยกันอีก หรือหากไม่มาด้วยตัวเองก็บอกต่อให้เพื่อนฝูง พี่น้อง รับทราบถึงประสบการณ์ความสนุกสนานที่ตนเองได้รับ ทำให้พวกเขากลายมาเป็นลูกค้าของฟาร์มโชคชัยเหมือนดังที่ คิม และ โมบอร์ค ได้กล่าวไว้ว่า เราต้องยอมรับอยู่ประการหนึ่งว่า ไม่มีใครเป็นเจ้าของน่านน้ำสีครามได้ตลอดกาล และไม่มีบริษัทใดที่มีความเป็นเลิศอยู่ได้ตลอดเวลา มีขึ้นก็ต้องมีลง มีความรุ่งเรืองก็ต้องยอมรับว่าจะมีความเสื่อมถอยคอยอยู่ น่านน้ำสีครามของคุณโชคนั้นเองก็ไม่พ้นจากวัฏจักรขึ้นลงตามกาลเวลาดังกล่าว เพราะปัจจุบันเกิดธุรกิจการเกษตรเชิงนิเวศน์ที่เปิดตัวมาแข่งขันกับฟาร์มโชคชัยอยู่ตอดเวลาทั้งที่อยู่พื้นที่รอบข้าง และในจังหวัดอื่นๆ
นวัตกรรมเชิงคุณค่า (Value Innovation) ที่ซึ่งเคยเป็นหัวใจสำคัญของการคิดกลยุทธ์แบบน่านน้ำสีครามที่ทำให้ฟาร์มแห่งนี้ดูโดดเด่นมีมนต์ขลัง เริ่มที่จะถูกบั่นทอนลงจากคู่แข่งที่เริ่มเข้ามาในน่านน้ำสีครามแห่งนี้เพิ่มมากขึ้น สิ่งที่คุณโชคตระหนักและค้นหาคุณค่าเชิงนวัตกรรมอย่างใหม่ก็คือ ฟาร์มโชคชัยต้องเริ่มก้าวหนีคู่แข่งขันและก้าวเข้าสู่น่านน้ำสีครามแห่งใหม่ สิ่งที่ได้เริ่มทำก็คือการเริ่มขยายธุรกิจของกลุ่มเข้าสู่ธุรกิจที่พักอาศัยและสัมนา ซึ่งเราจะเห็นสิ่งนี้เป็นรูปธรรมชัดขึ้นจากการกำเนิดของ “ฟาร์มโชคชัยบูติคแคมป์ปิ้งและสัมนาแพ็คเกจ” (Farm Chokchai Boutique Camping & Seminar Package) ที่เริ่มต้นขึ้นในปี 2548
สิ่งที่คุณโชคเคยให้สัมภาษณ์ไว้ในหลายวาระก็คือ “ผมเป็นคนคิดแบบผู้ใหญ่แต่ทำแบบเด็ก” นั้นก็น่าจะตรงกับแนวคิดของคิมและ โมบอร์คที่ว่า ตรรกะการคิดเพื่อจะเข้าสู่น่านน้ำสีครามคือการคิดที่หลุดพ้นจากอุโมงค์แคบๆ ของการคิดอย่างทั่วไป การขยายขอบเขตของน่านน้ำสีครามให้กว้างไกลออกไปได้นั้น กระบวนการคิดอาจจะต้องกลับด้าน ซึ่งโชคชัยบูติคแคมป์ปิ้งและสัมนาแพ็คเกจ ก็เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ตัวหนึ่งของฟาร์มโชคชัยที่เกิดขึ้นจากการคิดแบบผู้ใหญ่แต่ทำแบบเด็กนั่นเอง สิ่งที่เหมือนกันอีกประการระหว่างการดำเนินกลยุทธ์ของฟาร์มโชคชัยกับกลยุทธ์น่านน้ำสีครามก็คือ การการเติบโตของกลุ่มธุรกิจฟาร์มโชคชัยนั้นไม่ได้ใช้ตัวชี้วัดที่มาจากดัชนีอุตสาหกรรมเกษตรหรือปศุสัตว์ แต่การเติบโตของกลุ่มธุรกิจฟาร์มโชคชัยนั้นมาจากการขับเคลื่อนของกลยุทธ์ (Strategic Move) ที่เกิดขึ้นจากการขับเคลื่อนจากภายในองค์กรเสียมากกว่า ซึ่งโดยหลักนั้นมาจากการบริหาร กระบวนวิสัยทัศน์ และการตัดสินใจของคุณโชค ผ่านลงสู่การปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ผู้ทำงาน ทำให้การขับเคลื่อนเชิงกลยุทธ์เกิดผลสัมฤทธิ์ ซึ่งต่อมาเปลี่ยนไปเป็นความพึงพอใจ การเติบโตของธุรกิจ และผลกำไรที่มีให้กับองค์กร
4. การมีการจัดการส่วนร่วมและการจัดการแบบทีมงาน ของคุณโชค บูลกุล ที่กล่าวไว้ว่า “การดำรงไว้ซึ่งศักยภาพของทีม เพื่อ ประสิทธิภาพสูงสุดของคณะผู้บริหาร CE Executives โดย ผู้บริหารต้องสร้างข้อตกลงร่วมกันถึงวิธีการสื่อสารภายในกลุ่ม เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งนี้เพื่อความเข้าใจที่จะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และเพื่อลดข้อขัดแย้งที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในระหว่างการดำเนินงาน ซึ่งผลงานของทีมจะเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ถูกนำมาใช้เพื่อเป็นเกณฑ์ ในการพิจารณาปรับฐานรายได้ต่อไป ดังนั้น ประสิทธิผลสูงสุดของการทำงานเป็นทีมจะเกิดขึ้นได้ ย่อมต้องอาศัยการสื่อสารบนเหตุและผลเป็นสำคัญ ควรลด ละ เลิก การใช้อารมณ์ บรรยากาศของการทำงานเป็นทีมจะต้องมาจากการเรียบเรียงประเด็นที่ต้องการสื่อสารให้ชัดเจน การพิจารณาไตร่ตรอง อย่างถ้วนถี่ก่อนนำเสนอ เพื่อให้ประเด็นการวิเคราะห์พิจารณาต่างๆที่เกิดขึ้นในเวทีการประชุมนั้น เป็นไปอย่างสร้างสรรค์ และ การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในส่วนงานที่ตนรับผิดชอบ ซึ่งหมายถึง ผู้บริหาร หรือผู้บังคับบัญชาทุกระดับ มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบต่อการพัฒนาทักษะ ความสามารถ รวมถึงสนับสนุนให้เกิดการแสดงออกซึ่งศักยภาพของ ผู้ใต้บังคับบัญชาของตนอย่างเต็มกำลัง เพื่อให้ส่วนรวมได้เห็นถึงผลงานในเชิงประจักษ์ และพัฒนาการในการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชาของตนให้ได้

5. การมีการสื่อสารที่ดี จากหลักการบริหารงาน 10 ข้อ ของคุณโชค บูลกุล ที่กล่าวไว้ในข้อที่ 4 คือ ทักษะการสื่อสาร เพื่อสร้างความเข้าใจที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันขององค์กร และสามารถสะท้อนภาพลักษณ์ขององค์กรอย่างถูกต้องต่อสาธารณชน จึงเป็นการแสดงถึงการมีภาวะผู้นำของคุณโชค บูลกุล ในด้านการสื่อสาร ได้อย่างตรงประเด็น

6. มีการสอนงานและการสั่งงานที่ดี โดยมีการสร้างคนหรือบุคลากรที่มีคุณภาพ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการทำงานที่จะทำให้บรรลุตามเป้าหมายขององค์การที่วางไว้ โดยใช้หลักหลัก 10 กลยุทธ์สร้างคน ของ คุณโชค บูลกุล ดังต่อไปนี้
1. เป็นผู้นำที่ใช้คุณสมบัติพิเศษเฉพาะคนสร้างการเปลี่ยนแปลง
2. เป็นผู้นำที่พร้อมยอมรับการตัดสินใจของคนหมู่มาก
3. เป็นผู้นำที่ลูกน้องรัก เคารพ และเชื่อ
4. เชื่อมั่นในความผูกพันระหว่างผู้นำและทีม
5. พร้อมที่จะทำให้ดูเป็นตัวอย่าง
6. ภูมิใจในความสำเร็จ
7. ภูมิใจในความเป็นเจ้าของ
8. รู้จักมองต่างมุม
9. มีการเรียนรู้และประเมินผลอย่างต่อเนื่อง
10. มีจิตสำนึกของความเป็นครูหรือผู้ถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่น

7. การมีบุคคลิคภาพที่ดี คุณโชค บูลกุล มีบุคคลิคภาพที่ดี การแต่งกายถูกกาลเทศะ มีการทำตลาดด้วยการแต่งกายให้เป็นแบบอย่างแก่พนักงาน

3 บทสรุป
สรุปหลักการและข้อคิด ของคุณโชค บูลกุล
1. คุณโชค บูลกุล เป็นบุตรคนโตของตระกูลโชคชัย ทั้งที่ไม่ได้รักธุรกิจนี้เลยจนกลายมาเป็นธุรกิจที่ตนรักได้
-โดยการไม่มองด้านตรงของธุรกิจดั้งเดิม สิ่งที่เก่าสุด เช่น ฟาร์มโค
-จะทำอะไรที่จะเสริมธุรกิจดั้งเดิม
-มองให้ได้ธุรกิจที่ได้ผลประโยชน์ แต่ต้องมีจริยธรรมเสมอ
2. พื้นฐานและจุดยืนของธุรกิจสำคัญที่สุด
3. ต้องรู้ความสามารถของตนเอง
4. อย่าพยามเปรียบเทียบตัวเองหรือธุรกิจตัวเองกับคนอื่น แต่ต้องมี Bench Markimg เพราะจะทำให้รู้สึกด้อย (เพราะคนเราเกิดมาไม่เหมือนกัน ไหวพริบสอนกันไม่ได้)
5. ฟาร์มโชคชัยของผมต้องการบุคลากรพนักงานที่คิดแบบเด็ก แต่ทำงานแบบผู้ใหญ่ : ฝันก่อนแล้วทำจริงด้วยการวางแผน:
6. การทำธุรกิจต้องออม Cash flow (กระแสเงินสด ) สำคัญไม่แพ้ Asset ( สินทรัพย์ )
7. การท่องเที่ยวสู่ธรรมชาติจะเป็น Future of future ของธุรกิจ
8. การทำธุรกิจในการ Support ไม่ใช่ธุรกิจการแข่งขัน

3.1 จุดเด่น
1. มีการใช้ เครื่องมือในการบริหารงาน เช่น การใช้ CRM, แนวทางกลุยทธ์น่านน้ำสีฟ้า และ หลักการบริหารการเปลี่ยนแปลง
2. ใช้สื่อสารสนเทศเข้ามาช่วยทำการตลาด เช่น การสร้างเวปไซค์ขององค์การ, การสั่งจองที่พักออนไลนเป็นต้น
3. มีการผลักดันหรือสร้างบุคลากรที่มีประสิทธิภาพในการบริหารงานในฝ่ายต่างๆ
4. คุณโชค บูลกุล เรียนจบในสาขาที่องค์การทำธุรกิจอยู่โดยตรง คือ จบปริญญาตรี 3 สาขาวิชา จาก UNIVERSITY OF VERMONT ประเทศสหรัฐอเมริกา
1. สาขาวิชาสัตวศาสตร์
2. สาขาวิชาเทคโนโลยี และการจัดการฝูงโคนม
3. สาขาวิชาเทคโนโลยี และการบริหารธุรกิจการเกษตรอุตสาหกรรม
ซึ่งฟาร์มโชคชัยก็ทำธุรกิจด้านการเกษตร เน้นเฉพาะ การเลี้ยงโคนม และการผลิตภัณฑ์จากโคนม
5. คุณโชค บูลกุล มีวิสัยทัศน์กว้างไกล โดยคิดค้นการบริหารงาน 10 ประการ และ ยังทำธุรกิจต่อยอดในด้านการท่องเที่ยว ที่รัฐบาลให้การสนับสนุน และในปัจจุบันเป็นกระแสนิยมในคนไทยและชาวต่างชาติที่ต้องการท่องเที่ยวในประเทศไทย
6. ธุรกิจมีคู่แข่งน้อย ได้เปรียบกว่าธุรกิจประเภทอื่น

3.2 จุดด้อย
1. การบริหารยังเป็นแบบกึ่งครอบครัวกึ่งสมัยใหม่ อาจจะทำให้การพัฒนาองค์การได้ไม่เต็มที่ ต้องใช้การบริหารงานแบบบูรณาการหรือการบริหารงานแบบร่วมคิดร่วมทำร่วมพัฒนา
2. อำนาจการบริหารและการตัดสินใจ อยู่กับบุคคลๆ เดียวหรือคนกลุ่มเดียว ซึ่งอาจจะบริหารงานผิดพลาด ได้
3. กลุ่มธุรกิจที่ดำเนินการ ยังไม่ครบวงจร เพื่อการพัฒนาธุรกิจในกลุ่มอย่างยั่งยืน ควรจะมีการเปิดธุรกิจบางอย่างเพิ่มเติม เช่น ธุรกิจขนส่ง เป็นต้น

3.3 แนวทางพัฒนาของจุดด้อยอย่างไร
1. ควรใช้การบริหารงานเป็นแบบสมัยใหม่ (Modern Trade) หรือ เรียกว่าระบบบูรณาการ ซึ่งจะทำให้การดำเนินงานและการบริหารงานประสบความสำเร็จและบรรลุเป้าหมายขององค์การได้สภาวะปัจจุบัน โดยใช้

การบริหารงานแบบบูรณาการและร่วมคิดร่วมทำร่วมพัฒนา
เนื้อหา (Contens) การบริหารงานแบบบูรณาการ
1. ลักษณะการบริหารงานสมัยใหม่
1.1 การบริหารงานแบบบูรณาการ
1.2 องค์ประกอบสำคัญที่ทำให้การบริหารงานแบบบูรณาการประสบผลสำเร็จ
1.3 ความสามารถหลักขององค์การแบบบูรณาการ
2. การบริหารงานแบบบูรณาการ
2.1 ภาวะผู้นำ (Leadership)
2.2 วัฒนธรรมองค์การ (Organization Culture)
2.3 มีส่วนร่วม (Participative Management)
ลักษณะการบริหารงานสมัยใหม่
 บริหารจัดการด้วยความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
— มีข้อมูลที่ถูกต้องชัดเจนเพื่อใช้ในการวางแผนพัฒนางาน กำหนดนโยบาย
— มีกระบวนการ ที่สามารถตอบสนองความต้องการและความพึงพอใจกับลูกค้า
1.1 การบริหารงานแบบบูรณาการ
1) มีเจ้าภาพ หมายถึง การมี Key Man หรือผู้จัดการหรือผู้ประสานงานที่มีความสามารถสูง
2) มีส่วนร่วม ให้ทุกคนในองค์การหรือลูกค้ามีส่วนร่วมในการบริหารงานหรือแสดงความคิดเห็น
3) มียุทธศาสตร์ วิสัยทัศน์ เป้าประสงค์พันธกิจชัดเจน
4 ) รวดเร็วลดขั้นตอน
5 ) แก้ปัญหาเร่งด่วนที่เกิดขึ้น หมายถึง สามารถแก้ไขปัญหาระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ได้อย่างรวดเร็ว
6 ) มีประสิทธิภาพประหยัด คือ การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างประหยัด และมีประสิทธิภาพสูงสุด
7) เกิดผลสัมฤทธิ์ คือ การทำให้เกิดผลงานสัมฤทธิ์ผล หรือ การประสบความสำเร็จตามที่ต้องการนั่นเอง

1.2 องค์ประกอบสำคัญที่ทำให้การบริหารงานแบบบูรณาการประสบผลสำเร็จ คือ การพัฒนาสร้างวิสัยทัศน์แบบคิดใหม่ทำใหม่ (Rethinking the Future) ได้แก่
1) หลักการ (Rethinking Principle)
2) การแข่งขัน (Competition)
3) การบริหารองค์กร (Control & Complexity)
4) ความเป็นผู้นำ (Leadership)
5) ระบบเครือข่าย (Networking)
6) มีส่วนร่วม (Participating)

1.3 ความสามารถหลัก (Core Competencies) ขององค์การแบบบูรณาการ (Integrated organization) ประกอบด้วย
1) การวิจัยและพัฒนา
2) การเงิน
3) กลยุทธ์เป็นสากล
4) กระบวนการผลิต
5) ระบบข้อมูลข่าวสาร
6) การตลาด
7) การบริหาร
8) การใช้กลยุทธ์เป็นพันธมิตร
9) การใช้กลยุทธ์การร่วมทุน
10) ผู้จัดจำหน่าย
11) การทำให้ลูกค้าคิดว่าลูกค้าก็คือหุ้นส่วนของกิจการ
12) คนกลาง

ความสามารถหลัก (Core Competencies) ขององค์การ ประกอบด้วย
1) การวิจัยและพัฒนา (Research and development) ต้องค้นหานวัตกรรมให้เกิดขึ้น เพื่อที่จะได้เปรียบในเชิงแข่งขัน เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ได้ทันเวลา โดยต้องเปิดหาแหล่งความคิดใหม่ ๆ เพื่อการค้นคว้าจากพนักงานทุกระดับด้วยการให้รางวัลในการจูงใจจะได้นำไปสู่การวิจัย และพัฒนาผลิตภัณฑ์
2) การเงิน (Financial) ต้องสรรหาเงินมาลงทุนในหน่วยธุรกิจ ให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้ารวมทั้งต้องหมั่นดูแลสุขภาพทางการเงินขององค์การโดยให้พนักงานได้รับทราบถึงความเป็นไปของธุรกิจ
3) กลยุทธ์เป็นสากล (Global Strategy) มีการวางแผนที่จะขยายตัวไปสู่ตลาดที่กว้างขึ้น มิใช่แต่จะรุกตลาดเดิมเพียงอย่างเดียว
4) กระบวนการผลิต (Production Process) ต้องผลิตสิ่งที่จะขายได้ ในสิ่งที่ลูกค้าต้องการ
5) ระบบข้อมูลข่าวสาร (Data System) มีการติดตามความเคลื่อนไหวของสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ให้ทันกาลเวลาและทันความต้องการใช้ของธุรกิจ ต้องประมวลทุกอย่างเข้าด้วยกันตั้งแต่ข้อมูล (Data) การบริหารข้อมูล และการเข้าถึงข้อมูล “ข้อมูลถือเป็นทรัพย์สินทางปัญญาขององค์การ ”
6) การตลาด (Marketing) เป็นหน้าที่ของทุกคนทุกฝ่ายในการทำการตลาดมิใช่หน้าที่ของฝ่ายการตลาดแต่เพียงอย่างเดียว โดยจะต้องสร้างเป็นวัฒนธรรมให้เกิดขึ้นในองค์การ
7) การบริหาร (Management) ผู้บริหารทุกระดับชั้นนอกจากจะทำการบริหารจัดการในแต่ละหน่วยขององค์การแล้ว ยังต้องมีจิตวิญญาณของการเป็นนักการตลาดด้วย เนื่องจากปัจจุบันต้องบริหารงานภายใต้แนวคิดให้คุณค่าแก่ลูกค้า (Consumer Value)
8) การใช้กลยุทธ์เป็นพันธมิตร (Strategic Partner) ไม่จำเป็นต้องมีคนมาก เนื่องจากอะไรที่คนอื่นทำแล้ว ทำได้ดีกว่า ถูกกว่า ให้นำเข้ามาร่วมกับธุรกิจได้ เช่น Outsourcing, Strategic Alliances เป็นต้น
9) การใช้กลยุทธ์การร่วมทุน (Joint Ventures)
10) ผู้จัดจำหน่าย (Vendor Partnering) การมีเครือข่ายทางธุรกิจที่จะต่อแขนต่อขา จะทำให้องค์การมีความสามารถในการส่งสินค้าหรือบริการไปยังลูกค้าได้มากและทั่วถึงขึ้น
11) การทำให้ลูกค้าคิดว่าลูกค้าก็คือหุ้นส่วนของกิจการทำให้ลูกค้ามีความรู้สึกเป็นเจ้าของ
12) คนกลาง (Middlemen) เป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จทางการตลาด ในการกระจายผ่านผู้ค้าคนกลางไปยังผู้บริโภคคนสุดท้าย ให้ได้รับความพึงพอใจ หรือถึงผู้บริโภคโดยตรง ดังนั้น จึงต้องมีการรักษาสัมพันธภาพไว้ให้ยาวนาน

1. ใช้การบริหารงานแบบคณะกรรมการ หรือทีมคณะที่ปรึกษา ฯ
การทำงานในรูปแบบของคณะกรรมการหรือองค์คณะบุคคลหรือการทำงานเป็นกลุ่มเป็นคณะเชื่อกันว่าสามารถสร้างประสิทธิภาพในการทำงานได้เป็นอย่างดี เพราะเป็นการระดมสติปัญญาความคิดและประสบการณ์ของบุคคลหลายคนเพื่อพิจารณาปัญหาตัดสินหรือหาข้อยุติอย่างมีเหตุผลและโดยหลักวิชาการ คณะกรรมการซึ่งได้รับการแต่งตั้งหรือดำเนินการอย่างถูกต้องจะมีลักษณะเป็นการกระจรายอำนาจจากวิธีหาความคิดเฉลี่ย ขจัดความคิดที่เป็นปฏิปักษ์ด้วยการอภิปรายประนีประนอมและผสมผสาน ตลอดจนเป็นการหาผลลัพธ์แบบประชาธิปไตยในกรณีที่ไม่สามารถทนายผลล่วงหน้าได้ หรือในกรณีที่มีความจำเป็นต้องตัดสินใจแก้ปัญหาสำหรับเรื่องที่มีอิทธิพลหรืออำนาจของผมีผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้องซึ่งบุคคลคนเดียวไม่กล้าตัดสินใจหรือไม่เหมาะที่จะตัดสินใจ

นอกจากนี้การบริหารงานในรูปคณะกรรมการ ยังเป็นการสร้างความร่วมมือและการประสานงานที่ดีในการปฏิบัติงาน ตลอดจนสามารถป้องกันความลำเอียงที่จะพึงมีขึ้นได้ส่วนผลเสียที่ได้รับจากการดำเนินงานนั้น คือ ทำให้การดำเนินงานล่าช้า สิ้นเปลือง ทั้งงานและเวลา ทั้งยังขาดผู้รับผิดชอบในผลงานในระบบคณะกรรมการสมาชิกต้องรับผิดชอบในผลงานอย่างแท้จริง กล่าวคือการบริหารงานในระบบคณะกรรมการสมาชิกต้องรับผิดชอบร่วมกันแต่สิ่งใดก็ตามถ้าถือว่าเป็นความรับผิดชอบของทุกคนแล้ว มักดูเหมือนว่าไม่มีผู้ใดรับผิดชอบเลย
ปัจจัยการปฏิบัติงาน ที่ถือเป็นองค์ประกอบหลักและควรคำนึงถึง 3 ประการ คือ

ประการแรก การแต่งตั้ง การพิจารณาเลือกบุคคลใดบุคคลหนึ่งเข้ามาปฏิบัติงาน ผู้เลือก ผู้เสนอหรือผุ้มีอำนาจในการแต่งรั้งควรคำนึงถึงความรู้ความสามารถและประสบการณ์ของบุคคลเป็นลำดับแรก ความสามารถในการอุทิศตนหรืออุทิศเวลาให้กับงานเป็นลำดับถัดมา และโดยปกติคณะกรรมการแต่ละคณะ ควรมีกรรมการ 7-15 คน ซึ่งเชื่อว่าเป็นจำนวนที่เหมาะสมที่สุด หากน้อยกว่านี้จะหาความคิดเฉลี่ยได้ยาก และอาจถูกครอบงำทางความคิดจากกรรมกาจากกรรมการอาวุโสหรือกรรมการผู้มีอิทธิพลด้วยตำแหน่ง บารมีหรือคุณวุฒิ แต่ถ้าจำนวนกรรมการมากกว่านี้ความคิดเห็นจะมากเกินกว่าจะรวบรวมเป็นข้อสรุปได้อย่างครอบคลุม

ประการที่สอง การกำหนดอำนาจหน้าที่ อำนาจหน้าที่ ซึ่งถูกกำหนดไว้เป็นภารกิจของคณะกรรมการ ควรคำนึงว่าคณะกรรมการทั้งคณะสามารถร่วมกันปฏิบัติได้จริงและต้องสามารถตรวจสอบผลของความสำเร็จได้ ดังนั้น อำนาจหน้าที่จะต้องมีการกำหนดจุดมุ่งหมายความรับผิดชอบ ตลอดจนวิธีการหรือแนวทางที่ประสงค์จะให้คณะกรรมการดำเนินการไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้กรรมการแต่ละคนเข้าใจบทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบที่คณะกรรมการหรือตนเองจะต้องปฏิบัติ

ประการที่สาม กลุ่มบุคคลที่เป็นกรรมการ ผู้ที่ด้รับการแต่งตั้งให้เป็นกรรมการจะต้องศึกษาบทบาทหน้าที่และขอบเขต ความรับผิดชอบที่พึงมีของคณะกรรมการและของตนอย่างละเอียดตามตำแหน่งที่ได้รับมอบหมายอุทิศเวลาเพื่อเตรียมข้อมูลในเรื่องที่จะประชุมเป็นการล่วงหน้ามีอุดมการณ์และเป็นตัวของตัวเองโดยไม่เกรงกลัวต่ออิทธิผล และการเสียผลประโยชน์ส่วนตัวสำหรับบุคคลผู้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ ควรรับฟังเหตุผลและประสานความคิดเห็นของทุกฝ่ายกระต้นให้กรรมการเกิดความคิดริเริ่ม ดำเนินการให้มีการตัดสิน ชี้ขาด โดยไม่ให้เสียหลักการหรือความยุติธรรรักษาวินัยและสร้างบรรยากาศที่เป็นกันเองในที่ประชุม ตลอดจนให้เวลาการอภิปรายที่เหมาะสมนอกจากนี้กรรมการผู้มีบทบาทสำคัญได้แก่ เลขานุการ และเจ้าหน้าที่สนับสนุนจะต้องเป็นผู้มีส่วนส่งเสริมให้การบริหารงานในระบบคณะกรรมการดำเนินการไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะการบริหารงานในระบบนี้ ส่วนมากกรรมกาแต่ละคนไปประชุมหรือปฏิบัติงานเป็นครั้งคราวมีเวลาน้อย จึงเป็นภาระหน้าที่ของเลขานุการและเจ้าหน้าที่จะต้องกำหนดวิธีการประชุมให้มีสาระและเกิดประโยชน์สูงสุด

บทบาทหน้าที่ของฝ่ายเลขานุการ
เลขานุการคณะกรรมการและคณะเจ้าหน้าที่ ถือเป็นกลไกสำคัญในการกำหนดทิศทางการทำงานของคณะกรรมการ ให้บรรลุผลตามเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ในการแต่งตั้งคณะกรรมการตามที่ระบุไว้ โดยจะต้องมีการตระเตรียมและปฏิบัติภารกิจสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการ ซึ่งในเบื้องต้นต้องมีการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลในด้านนโยบาย ทิศทางหรือแนวโน้มในอนาคต โอกาส ข้อจำกัดและกลยุทธ์การปฏิบัติงานในภาพรวมและเฉพาะกรณีตลอดจนทางเลือกสำหรับการตัดสินใจพื้นฐาน มีการจัดลำดับความสำคัญของเรื่องที่จะนำเข้าหารือในคณะกรรมการวางแผนจัดทำปฏิทินเรื่องที่จะพิจารณาไว้ล่วงหน้า เสนอแต่งตั้งคณะทำงานศึกษาวิเคราะห์เรื่องสำคัญ ๆ ก่อนนำเข้าสู่ที่ประชุม จัดเตรียมเอกสารสรุปประเด็นสำคัญและเอกสารประกอบที่เกี่ยวข้อง นำส่งให้คณะกรรมการศึกษาเป็นการล่วงหน้า ก่อนการประชุมอย่างน้อย 3-7 วัน ชี้แจงรายละเอียดเป้าหมาย หรือความต้องการในการพิจารณาประเด็นสำคัญต่าง ๆ ให้ประธานกรรมการทราบก่อนการประชุมทุกครั้ง กรณีที่รับทราบภายในหรือคาดคะเนว่ากรรมการมีความคิดเห็นแปลกแยกกันเป็นกลุ่มควรชั้แจงทำความเข้าใจในประเด็นสำคัญอย่างไม่เป็นทางการกับกรรมการบางกลุ่ม ที่คาดว่าจะทำให้ผลหรือมติการประชุมเบี่ยงเบนไปจากเป้าหมายที่ต้องการ และการประชุมจะรวนเรล่าช้า ทั้งนี้หากไม่มีข้อขัดข้อจำเป็นจริง ๆ เลขานุการต้องนำเสนอเรื่องต่อที่ประชุมด้วยตนเอง โดยพยายามสรุปประเด็นให้ชัดเจน กะทัดรัดและเข้าใจง่ายรวมทั้งนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ เข้ามาช่วยสนับสนุน ทีมเลขานุการต้องมีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ ซักซ้อมสนับสนุนและประสานการปฏิบัติอย่างเป็นระบบ ทั้งด้านงานเอกสาร เทคโนโลยี การนำเสนอ และการบันทึกรายงานการประชุม

นอกจากนี้ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุม ฝ่ายเลขานุการต้องนำบันทึกรายงานการประชุมมาตรวจสอบและวิเคราะห์ว่า คณะกรรมการมีการมอบหมายภารกิจให้ฝ่ายเลขานุการหรือกรรมการท่านใดบ้าง และภารกิจดังกล่าวมีภารกิจที่ฝ่ายเลขานุการต้องสนับสนุนหรือมีกำหนดการในการปฏิบัติให้แล้วเสร็จเมื่อใด เพื่อติดตามผลการปฏิบัติตามมติที่ประชุม และรวบรวมนำเสนอผลหรือปัญหาอุปสรรคต่อคณะกรรมการในการประชุมครั้งต่อไป

บทสรุป
การบริหารงานในรูปคณะกรรมการเป็นการใช้กลยุทธ์ตามแนวทางประชาธิปไตยให้กลุ่มบุคคลฝ่ายต่าง ๆ มีส่วนร่วมในทางความคิด การปฏิบัติ การกำกับติดตามดูแลผลการปฏิบัติ รวมทั้งแก้ไขปัญหาอุปสรรคร่วมกัน โดยกลไกสำคัญของการปฏิบัติ คือ การแต่งตั้งหรือพิจารณาคัดเลือกบุคคลเข้าไปรับผิดชอบทำงานต้องคำนึงถึงความรู้ความสามารถและการอุทิศเวลาการกำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ต้องเข้าใจชัดเจนตรงกันสามารถปฏิบัติได้และบทบาทหน้าที่ของกลุ่มบุคคลที่เป็นกรรมการโดยเฉพาะเลขานุการและคณะเจ้าหน้าที่เป็นบุคคลที่มีความสำคัญยิ่งต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวที่จะเกิดขึ้น ซึ่งจำเป็นต้องอาศัย บุคคลที่มีบุคลิกแห่งความเป็นผู้นำ มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล มีการวิเคราะห์ และคาดคะเนผลด้วยความแม่นยำ ครอบคลุมสาระสำคัญมีความละเอียดรอบคอบปฏิบัติภารกิจด้วยความรับผิดชอบและกล้าที่จะเผชิญต่อความกดดันหรือสภาพของอิทธิพลทุกประเภทด้วยหัวใจแห่งนักบริหารสมัยใหม่อย่างแท้จริง

3. การสร้างธุรกิจแบบครบวงจร โดย ปัจจุบันธุรกิจฟาร์มโชคชัยมีธุรกิจเพียง 5 กลุ่ม ดังนี้
1. ฟาร์มโชคชัย
2. การวิจัยและพัฒนา
3. อาหารเสริม
4. ฟาร์มนก
5. Agro-Tourism

ดังนั้น คุณโชค บูลกุล ควรสร้างกลุ่มธุรกิจให้ครบวงจร ดังต่อไปนี้
1. ธุรกิจด้านร้านสะดวกซื้อ คือ เปิดกลุ่มร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของธุรกิจตนเองโดยตรง ที่เหมือนกับกลุ่มซีพี ที่มี Seven Eleven ที่จำหน่ายสินค้าบางรายการของตนเอง เช่น เปิดร้านสะดวกซื้อไม่ต่ำกว่า 200 สาขาเพื่อ ขายหรือระบายผลิตภัณฑ์ของฟาร์ม ฯ ให้ลูกค้าโดยตรง เป็นต้น
2. ธุรกิจด้านการขนส่ง ( Logistic ) คือ เปิดบริษัทการขนส่งของตนเอง โดยจะให้บริการขนส่งผลิตภัณฑ์ในกลุ่มของฟาร์มหรือกลุ่มธุรกิจที่มีอยู่หรือใช้รับส่งนักท่องเที่ยวเพื่อเข้าชมฟาร์ม เพื่อลดต้นทุนในการผลิตและจำหน่าย โดยให้มีการขนส่งทั้งภายในและภายนอกประเทศ อย่างครบวงจร และใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการบริหารงานด้านขนส่งด้วย เช่น ระบบ GPRS เป็นต้น

เอกสารอ้างอิง

1. http://businessconnectionknowledge.blogspot.com/2010/03/think-big.html
2. http://www.crmtothai.com/index.php?option=com_content&task=view&id=749&Itemid=52
3. การบริหารงานแบบบูรณาการ : ร่วมคิดร่วมทำร่วมพัฒนา …ดร.อนันท์ งามสะอาด
4. บทความ “ศรัทรา” http://www.ee43.com/content/topic/279.html “โชค บูลกุล” ค้นให้พบ “ความสุข” บนบรรทัดฐานของตัวเองhttp://www.healthcorners.com/new_read_article.php?category=starhealth&id=2111
สูตรสำเร็จการพัฒนาองค์กรและเศรษฐกิจhttp://main.dou.us/view_content.php?s_id=211&page=2
5. การบริหารจัดการคนยุคใหม่ “โชค บุลกูล http://www.mis.nu.ac.th/sharing/chok1.php
6. กลไกในการบริหารงานในรูปคณะกรรมการ, สนธิรัก เทพเรณู สถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษาhttp://www.moe.go.th/wijai/boad.htm
7. “ไม่ได้มาเพราะโชคช่วย” http://www.moneychannel.co.th/MoneyChannel
/CEOTalk/tabid/54/newsid477/15573/Default.aspx
8. สรุปหลักศรัทธา , http://www.piwdee.net/sem3_2.html
9. http://www.siaminfobiz.com/
10. http://businessconnectionknowledge.blogspot.com /2009/12/hr-management-in-family-business.html
11. http://www.matichon.co.th/weekly/weekly.php?srctag=0413300948&srcday=2005/09/30&search=no
12. เอกสารประกอบการเรียนการสอน จริยธรรมทางธุรกิจ เล่ม 1, อาจารย์โสภิดา ทะสังขา 2552 – 2553 มหาวิทยาลัยสยาม, กรุงเทพฯ
13. เอกสารประกอบการเรียนการสอน จริยธรรมทางธุรกิจ เล่ม 2, อาจารย์โสภิดา ทะสังขา 2552 – 2553 มหาวิทยาลัยสยาม, กรุงเทพฯ
14. หนังสือ Case Study 10.0, Blue Ocean, ธันยวัชร์ ไชยตระกูลชัย, อาทิตย์ โกวิทวรางกูร
15. บทความที่ตีพิมพ์ในนิตยสาร Strategy + Marketing (S+M) Vol.7, Issue 082 (2551) 122-123
เกี่ยวกับผู้เขียน : บุริม โอทกานนท์ ประธานสาขาการตลาด วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล, 28 สิงหาคม 2551

SiamZa

ใส่ความเห็น